Get Adobe Flash player
ติดต่อสอบถามได้ที่โทร. 086-131-6228, 085-930-4143,

กำหนดการ
วันเสารที่ 16 พฤศจิกายน 2561
เวลา 09.00น. ตั้งองค์กฐินที่ศาลาธรรมสภาช้ั้นล่าง
เวลา 17.30น. พระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์เย็น
วันอาทิตย์ที่ 17 พฤศจิกายน 2561
เวลา 11.00น. ถวายภัตตาหารเพลแด่พระสงฆ์
เวลา 12.00น. เคลื่อนองค์กฐินแห่รอบอุโบสถวัดดงน้อย
เวลา 12.30น. ถวายผ้ากฐิน พระสงฆ์อนูโมทนาเป็นเสร็จพิธี

จุลกฐิน

       ขอเชิญทุกท่านร่วมงานพิธีเบิกพระเนตรพุทธไสยาสน์องค์ใหญ่

            ณ วัดดงน้อย  ตำบลกกโก  อำเภอเมือง  จังหวัดวัดลพบุรี

                          วันที่ ๒๖-๒๙ พฤษภาคม ๒๕๖๑   

ด้วยวัดดงน้อย   พร้อมด้วยข้าราชการ พ่อค้า ประชาชน  ได้ร่วมกันทำการก่อสร้างพระพุทธไสยาสน์

องค์ใหญ่ ยาว ๔๕เมตร กว้าง ๔ เมตร สูง ๑๖ เมตร ขององค์พระประดิษฐานบนชั้น ๒ ของอาคาร  ใช้งบประมาณ

ก่อสร้างทั้งสิ้น ๓๐ ล้านบาท     ขณะนี้การก่อสร้างได้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี   จึงได้กำหนดวันจัดงานฉลองสมโภชส่งเสริมพระพุทธศาสนา อันเนื่องในวันวิสาขบูชา และประกอบพิธีเบิกพระเนตรและเฉลิมฉลองเป็นทางการ เพื่อเป็นสิริมงคลเป็นที่กราบไหว้ต่อไป

จึงขอเชิญชวนท่านทั้งหลายมาร่วมงานและอนุโมทนาบุญโดยพร้อมเพรียงกันและขออนุโมทนาเป็น อย่างยิ่งในกุศลศรัทธาที่ท่านทั้งหลายได้ร่วมบริจาคอุปถัมภ์มา

                              กำหนดการ                         

                 วันเสาร์ที่ ๒๖ พฤษภาคม ๒๕๖๑

เวลา ๐๙.๒๕น.ทำพิธีบวงสรวงขอพรหลงพ่อมาลัยไกรศร

เวลา ๑๐.๐๐น. สอยดาวการกุศล

เวลา ๑๖.๐๐น. เจริญพระพุทธมนต์

เวลา ๒๐.๐๐น มีมหรสพให้ชม

                 วันอาทิตย์ที่ ๒๗ พฤษภาคม  ๒๕๖๑

เวลา ๐๙.๐๐น. ฝังตะกรุดทองคำ

เวลา ๑๔.๐๐น. ทำพิธีสะเดาะเคราะห์แก้ปีชง เสริมดวงชะตา

เวลา ๒๐.๓๐น. มีมหรสพให้ชม

                  วันจันทร์ที่ ๒๘ พฤษภาคม ๒๕๖๑

เวลา ๐๙.๐๐น. บวชชีพราหมณ์สร้างบารมี

                  วันอังคารที่ ๒๙ พฤษภาคม ๒๕๖๑ (วันวิสาขบูชา)

เวลา ๐๗.๓๐น.ตักบาตรอาหารแห้ง

เวลา ๐๙.๓๙น.ทำพิธีบวงสรวงพระพุทธไสยาสน์

เวลา ๑๖.๐๐น.ประกอบพิธีเบิกพระเนตร พระพุทธไสยาสน์มหามงคลศิริโชค

เวลา ๑๙.๐๐น. เวียนเทียนและสวดธรรมจักร พระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ ๑๐๘

                  วันพุธที่ ๓๐ พฤษภาคม ๒๕๖๑

เวลา ๐๘.๐๐น.พิธีลาสิกขา

คณะกรรมการวัดร่วมจัดงาน

สอบถามได้ที่โทร.๐๘๖-๑๓๑-๖๒๒๘/  ๐๘๕-๙๓๐-๔๑๔๓/  ๐๘๕-๔๒๑-๙๑๘๖/  ๐๘๖-๘๔๐-๑๖๔๙,      หมายเหตุ=แก้ไขข้อมูลล่าสุดเมื่อวันที่ ๓ พฤษภาคม ๒๕๖๑

ภาพเขียนสวยๆ

ภาพระยะไกล

ขอเชิญสาธุชนคณะศรัทธาสายบุญร่วมเป็นเจ้าภาพกองกฐินสามัคคี
และร่วมเทปูนหล่อพระพุทธไสยาสน์พระนอนองค์ใหญ่ ยาว ๔๕ เมตร
( เป็นจุลกฐิน ทำให้เสร็จในวันเดียว )
ณ วัดดงน้อย ตำบลกกโก อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี
กองเล็ก ๑๐๐ บาท, กองใหญ่ ๒,๕๐๙ บาท
ด้วยคณะกรรมการวัดและเทศบาลตำบลกกโกพร้อมด้วยประชาชนได้ร่วมพลังจัดงานจุลกฐินขึ้น เพื่อเป็นการเผยแพร่เชิงอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมส่วนหนึ่ง ซึ่งเราท่านทั้งหลายไม่คุ้นเคยรู้จักมากนัก ดังนั้น
คณะศรัทธาสายบุญจึงได้จัดงานนี้ขึ้น และขอเชิญชวนท่านทั้งหลายมาร่วมแรงร่วมใจกำลังศรัทธา เพื่อให้
งานจุลกฐิน สำเร็จทันกาลเวลา และในงานนี้มีการเทปูนหล่อพระพุทธไสยาสน์พระนอนองค์ใหญ่ด้วย
เป็นสายบุญมหากุศลอันยิ่งใหญ่ จึงบอกบุญมายังท่านทั้งหลาย ได้อนุโมทนาร่วมสร้างพระนอนองค์ใหญ่
ด้วยกัน เพื่อจรรโลงพระพุทธศาสนาต่อไป
กำหนดการ
วันเสาร์ที่ ๒๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๘ ( ตรงกับวันขึ้น ๑๑ ค่ำ เดือน ๑๒ ปีมะแม )
เวลา ๐๙. ๓๐ – ๑๑.๐๐ น. ตั้งบริวารองค์กฐินที่ศาลาธรรมสภา , เวลา ๑๔ . ๐๐ – ๑๖.๐๐ น. กวนข้าวทิพย์
เวลา ๑๖. ๐๐ – ๑๘.๐๐ น. พระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ และแสดงพระธรรมเทศนาอานิสงส์จุลกฐิน
เวลา ๒๐.๓๐ – ๒๓.๓๐ น. การแสดงของนักเรียนโรงเรียนวัดดงน้อย และดนตรีย้อนยุค

วันอาทิตย์ที่ ๒๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๘ ( ตรงกับวันขึ้น ๑๒ ค่ำ เดือน ๑๒ ปีมะแม )
เวลา ๐๘.๓๐ น. ทำพิธีเก็บดอกฝ้ายจากต้น และแห่ดอกฝ้ายมาให้คณะทำงานตามขั้นตอน เช่น เข็นฝ้าย
ปั่นฝ้าย ทอผ้า ตัดเย็บ ย้อม โดยการร่วมพลังทำให้เสร็จเป็นผ้าไตรจีวรองค์กฐิน
เวลา ๐๙.๐๙ น. เริ่มเทปูนหล่อพระนอนองค์ใหญ่ต่อเนื่องไปทั้งวัน
เวลา ๑๐.๐๐ น. การแสดงฟ้อนรำโดยนักเรียนโรงเรียนวัดดงน้อย
เวลา ๑๑.๐๐ น. ถวายภัตตาหารเพลแด่พระภิกษุสามเณร
เวลา ๑๗.๐๐ น. แห่กองผ้าป่า องค์กฐินจากหน่วยงานต่าง ๆ มารวมที่กองอำนวยการ เมื่อมาถึงแล้ว
นำผ้าจุลกฐินแห่รอบพระอุโบสถพร้อมกัน เสร็จแล้วนำมาไว้ที่ตั้งองค์กฐิน
และชมการแสดงของโรงเรียนวัดดงน้อยพร้อมทั้งมอบพวงมาลัยของขวัญแก่นักเรียน
ที่แสดงและครูผู้ควบคุมการแสดงด้วย
เวลา ๒๐.๐๐ น. ถวายผ้ากฐิน พระสงฆ์อนุโมทนา เป็นเสร็จพิธี

ติดต่อ ๐๘๙ – ๐๘๓ – ๗๔๕๐ , ๐๘๕ – ๔๒๑ – ๙๑๘๖ , ๐๘๖ – ๑๓๑ – ๖๒๒๘ , www.watdongnoi.com

Please welcome lady and gentleman to make merit , be the host of Ka-Thin , and pour cement to build “The Large Statue of Buddha(Sleeping Position) 45 metres in length.

At Wat Dong Noi Tambon Kok-Ko Ampher Maung Lopburi

Schedule
21st November 2015 (On Saturday)

09.30 – 11.00 am. Prepare things for Ka-Thin
02.00 – 04.00 pm. Making Kao-Thip(Kao-Thip is a name of dessert. It is a food in Buddhism History)
04.00 – 07.00 pm. Monks pray and preach about the merit of Ka-Thin.
08.00 pm. Shows form Dong Noi School.

22nd November 2015 (On Sunday)

08.30 am. Harvest cotton flower then show how to make a monk’s robe from its.
09.09 am. Pour cement to build “The Large Statue of Buddha(Sleeping Position)
10.10 am. Thai cultural dancing show from the student of Wat Dong Noi School.
11.00 am. Give lunch to monks.
05.00 pm. Parade “Pa-Pha and Ka-Thin” around the church. Then watching the show form Wat Dong Noi School’s students.
08.00 pm. Give “Ka-Thin” to the monks.

เนื้อทองแดง

              ขอเชิญทุกท่านร่วมงานการกุศลทอดผ้าป่าสามัคคี

                                 สร้างพระนอนองค์ใหญ่

                                      ณ  วัดดงน้อย

                   ตำบลกกโก  อำเภอเมืองลพบุรี   จังหวัดลพบุรี

                             วันที่ ๒-๓ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๕๘

                          **   ***   **   ***   **   ***   **   ***   **

     ด้วยทางวัดดงน้อย  มีโครางการสร้างพระพุทธไสยาสน์ (พระนอน)

องค์ใหญ่ ความยาว ๔๙เมตร กว้าง ๓ เมตร สูง ๖เมตร ประดิษฐานบน

อาคารชั้น ๒

     อนึ่งในงานนี้มีการบวชชีปฏิบัติธรรม สะเดาะเคราะห์ เสริมดวงชะตา 

ฝังตะกรุดทองคำมหามงคล  พุทธาภิเษกวัตถุมงคล ทอดผ้าป่าสามัคคี

 กองละ ๑,๐๐๐บาท  เพื่อสมทบทุนสร้างพระนอนองค์ใหญ่

ผู้บริจาค ๑๐,๐๐๐บาท จะได้รับมอบพระบูชา ๑ องค์

     ดังนั้น จึงขอเชิญชวนทุกท่านไปร่วมงานและอนุโมทนาบริจาคได้

ตามกำลังศรัทธา ด้วยอานุภาพแห่งพระพุทธไสยาสน์   ทรงประทานพรให้

ทุกท่านจงปราศจากทุกข์โรคภัยทั้งปวง และเจริญงอกงามในหน้าที่

การงานทุกเมื่อเทอญ.

                           กำหนดการ

          วันเสาร์ที่ ๒ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๕๘

          (ตรงกับวันขึ้น ๑๕ค่ำ เดือน๖ ปีมะแม)

          เวลา  ๐๙.๐๙น. ฝังตะกรุดทองคำ

          เวลา  ๑๐.๐๐น. บวชเนกขัมมะบารมี

          เวลา  ๑๔.๐๐น. พุทธาภิเษกวัตถุมงคล จากพระเกจิผู้บารมีอธิฐานจิต

           วันอาทิตย์ที่ ๓ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๕๘ 

            (ตรงกับแรม ๑ค่ำ เดือน๖ ปีมะแม)

     เวลา ๑๐.๐๙น. วางศิลาฤกษ์ อาคารฐานพระพุทธไสยาสน์ (พระนอน)

     เวลา ๑๓.๐๐น. พิธีสะเดาะเคราะห์เสริมดวงชะตา และถวายผ้าป่า

            หลวงพ่อใหญ่ – หลวงพ่อสารันต์  ประธานโครงการก่อสร้าง

 ติดต่อสอบถามได้ที่โทร.  036-783-086,  086-131-6228

(หลังจากวางศิลาฤกษ์เสร็จแล้ว ขอเชิญทุกท่านร่วมเทปูนหล่อฐาน

พระนอนองค์ใหญ่พร้อมเพรียงกัน)

 อัปโหลด-จากพระบุรี เขมปญฺโญ  อำเภอบ่อไร่ จังหวัดตราด

 

ขอเชิญสาธุชนคณะศรัทธาสายบุญร่วมเป็นเจ้าภาพมหากฐินสามัคคี

(เป็นจุลกฐิน ทำให้เสร็จในวันเดียว)

ทอด ณ. วัดดงน้อย  ตำบลกกโก  อำเภอเมือง  จังหวัดลพบุรี

วันเสาร์-อาทิตย์ที่ ๑-๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๗

     ด้วยคณะกรรมการวัดและเทศบาลตำบลกกโกพร้อมด้วยประชาชนได้ร่วมพลังจัดงาน

จุลกฐินขึ้นเพื่อเป็นการเผยแพร่เชิงอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมส่วนหนึ่ง ซึ่งเราท่านทั้งหลาย

ไม่คุ้นเคยรู้จักมากนัก ดังนั้นคณะศรัทธาสายบุญจึงได้จัดงานนี้ขึ้น และขอเชิญชวนท่าน

ทั้งหลายมาร่วมแรงร่วมใจ กำลังศรัทธาเพื่อให้งานจุลกฐิน สำเร็จทันกาลเวลา เป็นสายบุญ

มหากุศลยิ่งใหญ่

กำหนดการ

           วันเสาร์ที่ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๗  (ตรงกับวันขึ้น ๑๐ ค่ำ เดือน๑๒ ปีมะเมีย)

เวลา ๐๙.๓๐-๑๑.๐๐น     ตั้งบริวารองค์กฐินที่ศาลาธรรมสภา

เวลา ๑๔.๐๐-๑๖.๐๐น.    กวนข้าวทิพย์

เวลา ๑๖.๐๐-๑๘.๐๐น.    พระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์  และแสดงพระธรรมเทศนาอานิสงส์

                                 จุลกฐิน ๑กัณฑ์

เวลา ๒๐.๓๐-๒๓.๓๐น.  การแสดงของนักเรียนโรงเรียนวัดดงน้อยและดนตรีย้อนยุค

          วันอาทิตย์ที่ ๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๗ (ตรงกับวันขึ้น ๑๑ค่ำ เดือน๑๒ ปีมะเมีย)

เวลา  ๐๘.๐๐น. ทำพิธีเก็บดอกฝ้ายจากต้น และแห่ดอกฝ้ายมาให้คณะทำงานตาม

                      ขั้นตอนเช่น เข็นฝ้าย ปั่นฝ้าย ทอผ้า ตัดเย็บ ย้อม โดยการร่วมพลัง

                      ทำงานให้เสร็จเป็นผ้าไตรจีวรองค์กฐิน

เวลา  ๑๐.๐๐น.  การแสดงฟ้อนรำโดยนักเรียนของโรงเรียนวัดดงน้อย

เวลา  ๑๑.๐๐น.  ถวายภัตตาหารเพลแด่พระภิกษุสามเณร

เวลา  ๑๗.๐๐น.  แห่กองผ้าป่า องค์กฐินจากหน่วยงานต่างๆมารวมที่กองอำนวยการ

เวลา  ๑๙.๐๐น.  แห่ผ้าจุลกฐินรอบพระอุโบสถ

เวลา  ๒๐.๐๐น.  ถวายผ้ากฐิน พระสงฆ์อนุโมทนา เป็นเสร็จพิธี

        ติดต่อสอบถามได้ที่โทร. 089-083-7450,  085-421-9186, 

                                        086-131-6228,   085-930-4143,

โอนเงินเข้าบัญชี ธนาคารกรุงไทย สาขาลพบุรี  ชื่อบัญชี

โครงการสร้างองค์พระเจดีย์ เลขที่บัญชี 111-0-58246-3

                       ขอเชิญท่านร่วมเป็นเจ้าภาพทอดถวายผ้ากฐินสามัคคี
                           ณ สำนักสันติธรรม ธรรมสถานเฉลิมพระเกียรติ
                            ตำบลวังเพลิง อำเภอโคกสำโรง จังหวัดลพบุรี
                เนื่องด้วยสำนักสันติธรรม ธรรมสถานเฉลิมพระเกียรติ เป็นสาขาวัดดงน้อย อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี ซึ่งขณะนี้ ทางวัดกำลังทำการก่อสร้าง องค์พระเจดีย์นวเกตุเก้ายอดเพื่อเป็นพุทธบูชาบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ และเป็นการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในปัจจุบันการดำเนินงานก่อสร้างได้คืบหน้าไปแล้ว ๘๐%
                ดังนั้น จึงขอบอกบุญมายังสาธุชนท่านทั้งหลาย ได้ร่วมอนุโมทนาบริจาคเพื่อร่วมสมทบทุนในการก่อสร้างตามกำลังศรัทธา
                ขอให้ทุกท่านจงประสบด้วยเบญจพรชัยคือ อายุ วรรณะ พละ ธนสมบัติ ประกอบด้วย ลาภ ยศ สุข สรรเสริญ โดยทุกท่านทุกประการ เทอญ.
                                      กำหนดการ
               วันอาทิตย์ที่ ๑๒ ตุลาคม ๒๕๕๗ (ตรงกับวันแรม ๔ ค่ำ เดือน ๑๑)
                       เวลา ๐๙.๐๐น. ตั้งองค์กฐินที่ศาลาธรรมสภา
                       เวลา ๑๑.๐๐น. ถวายภัตตาหารเพลแด่พระภิกษุสงฆ์
                       เวลา ๑๒.๓๐น. ถวายผ้ากฐิน และแจกวัตถุมงคลผู้มาร่วมงาน

สอบถามโทร. 086-131-6228

โอนเงินเข้าบัญชี ธนาคารกรุงไทย สาขาลพบุรี  ชื่อบัญชี

โครงการสร้างองค์พระเจดีย์ เลขที่บัญชี 111-0-58246-3

คติธรรมหลวงพ่อสารันต์ วัดดงน้อย ต.กกโก อ.เมืองลพบุรี

 หลวงพ่อท่านเป็นพระผู้มีแต่ความเมตตา  เสียสละเพื่อประโยชน์ส่วนรวม โดยไม่เคยคิดถึงความสุขส่วนตัว

         ภาพนี้ถ่ายเมื่อ ๒๑ เม.ย.๕๗

                        ขอเชิญท่านร่วมเป็นเจ้าภาพทอดถวายผ้ากฐินสามัคคี
                           ณ สำนักสันติธรรม ธรรมสถานเฉลิมพระเกียรติ
                            ตำบลวังเพลิง อำเภอโคกสำโรง จังหวัดลพบุรี
                เนื่องด้วยสำนักสันติธรรม ธรรมสถานเฉลิมพระเกียรติ เป็นสาขาวัดดงน้อย อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี ซึ่งขณะนี้ ทางวัดกำลังทำการก่อสร้าง องค์พระเจดีย์นวเกตุเก้ายอดเพื่อเป็นพุทธบูชาบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ และเป็นการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในปัจจุบันการดำเนินงานก่อสร้างได้คืบหน้าไปแล้ว ๘๐%
                ดังนั้น จึงขอบอกบุญมายังสาธุชนท่านทั้งหลาย ได้ร่วมอนุโมทนาบริจาคเพื่อร่วมสมทบทุนในการก่อสร้างตามกำลังศรัทธา
                ขอให้ทุกท่านจงประสบด้วยเบญจพรชัยคือ อายุ วรรณะ พละ ธนสมบัติ ประกอบด้วย ลาภ ยศ สุข สรรเสริญ โดยทุกท่านทุกประการ เทอญ.
                                      กำหนดการ
               วันอาทิตย์ที่ ๑๒ ตุลาคม ๒๕๕๗ (ตรงกับวันแรม ๔ ค่ำ เดือน ๑๑)
                       เวลา ๐๙.๐๐น. ตั้งองค์กฐินที่ศาลาธรรมสภา
                       เวลา ๑๑.๐๐น. ถวายภัตตาหารเพลแด่พระภิกษุสงฆ์
                       เวลา ๑๒.๓๐น. ถวายผ้ากฐิน และแจกวัตถุมงคลผู้มาร่วมงาน

สอบถามโทร. 086-131-6228    

โอนเงินเข้าบัญชี ธนาคารกรุงไทย สาขาลพบุรี  ชื่อบัญชี 

โครงการสร้างองค์พระเจดีย์ เลขที่บัญชี 111-0-58246-3

                                               กำหนดการ ทอดกฐิน ปี ๒๕๕๗

                      วันอาทิตย์ที่ ๑๒  ตุลาคม ๒๕๕๗  (ตรงกับวันแรม ๔ ค่ำ เดือน ๑๑)

                                  เวลา  ๐๙.๐๐น.  ตั้งองค์กฐินที่ศาลาธรรมสภา

                                  เวลา ๑๑.๐๐น.   ถวายภัตตาหารเพลแด่พระภิกษุสงฆ์

                                  เวลา ๑๒.๓๐น.   ถวายผ้ากฐิน และแจกวัตถุมงคลผู้มาร่วมงาน

 โทร. 086-131-6228

 โอนเงินเข้าบัญชี  ธนาคารกรุงไทย  สาขาลพบุรี 

ชื่อบัญชี โครงการสร้างองค์พระเจดีย์  

 เลขที่บัญชี 111-0-58246-3

 

 

    

         เสาร์ที่ ๑๕ อาทิตย์ที่ ๑๖ มีนาคม ๒๕๕๗ ทางวัดดงน้อย จัดงานประจำปี ดังนั้นจึงขอเรียนเชิญท่านสาธุชนพุทธบริษัทและศิษยานุศิษย์ไปร่วมบุญและได้กราบไหว้ขอพรศาลหลวงพ่อมาลัยไกรศรซึ่งเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำหมู่บ้านดงน้อยมาช้านาน และจะได้กราบนมัสการ  พระครูจันทสิริธร (หลวงพ่อสารันต์  จันทูปโม ) เจ้าอาวาสวัดดงน้อย ซึ่งเป็นพระนักปฏิบัติและนักพัฒนา ขณะนี้หลวงพ่อท่านกำลังทำการก่อสร้างองค์พระเจดีย์ ใกล้จะเสร็จสมบูรณ์แล้ว ญาติโยมผู้ใจบุญมีศรัทธาต้องการร่วมสมทบทุนในการก่อสร้างองค์พระเจดีย์ ขอร่วมบุญตามอัธยาศัยตามกำลังทรัพย์และกำลังศรัทธาได้ที่วัดดงน้อย หรือโอนเข้าบัญชีธนาคารตามหมายเลขบัญชีที่มีอยู่มุมจอด้านขวามือของท่านได้ จึงเจริญพรมาเพื่อทราบทั่วกัน

          หมายเหตุ= งานประจำปี  ๒๕๕๗นี้ ทางวัดดงน้อย งดการฝังตะกรุดและพิธีเสริมดวงสะเดาะเคราะห์ ปีนี้หลวงพ่อท่านเหนื่อยมากขอพักสักหนึ่งปี      

                         จึงเจริญพรมาเพื่อทราบทั่วกัน

                                                                                                                                                                                                 อัพโหลดจากตราด ศิษย์หลวงพ่อ

            คณะนี้การก่อสร้างองค์พระเจดีย์ได้ดำเนินการอย่างต่อเนื่องไปเรื่อยๆ ไม่มีปัญหาอะไร อีกไม่นานก็คงจะแล้วเสร็จตามที่หลวงพ่อท่านได้ตั้งปฏิญญาไว้ว่า สร้างเพื่อถวายเป็นพุทธบูชา บูชาแด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าของพวกเราชาวพุทธทุกคนในโลกนี้ และเป็นสถานที่ตั้งประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุเพื่อให้ทุกคนได้เข้าไปกราบไว้บูชาสร้างบุญกันอย่างท่วนหน้า ต่อไปภายภาคหน้าก็จะเป็นสถานที่ท่องเที่ยวและเป็นสิ่งสำคัญประจำจังหวัดลพบุรีและประเทศไทยอีกด้วย

                                อัปโหลด จากศิษย์หลวงพ่อ  บ่อไร่ ตราด

           เมื่อวันที่ ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๖ ที่ผ่านมาวัดดงน้อยได้ทำการ ทอดกฐิน  ณ  เวลา ๒๐.๐๐น. (สองทุ่ม)  เป็นจุลกฐิน มีญาติธรรมพร้อมลูกศิษยานุศิษย์ ได้พร้อมใจกันมาร่วมทอดจุลกฐินกันที่วัดหลายพันคน แสดงว่าพุทธบริษัททั้งหลายให้ความสนใจเกี่ยวกับบุญจุลกฐินกันมาก ดังน้นคณะสงฆ์ของวัดดงน้อยขอขอบคุณและขอบใจมากๆที่ทุกคนให้ความสำคัญและได้มาร่วมสร้างบุญกันในคร้งนี้ ขออวยพรให้ทุกท่านจงมีอายุยืน สุขภาพกายดี บริบูรณ์ด้วยกำลังกายและกำลังทรัพย์ ไม่เจ็บไม่ป่วย ขอให้รวยทรัพย์และรวยน้ำใจกันทุกๆท่านตลอดไปด้วย เทอญ.

                        (อัปโหลด จากศิษย์ หลวงพ่อ  บ่อไร่ตราด)

ต้องขออภัยด้วยนะ หลวงพี่บุรีออกธุดงค์ต่างจังหวัดหลายเดือนแล้วเบอร์นี้ 08-68401649 ติดต่อไม่สะดวก  ให้ญาติโยมติดต่อเบอร์หลวงพ่อใหญ่โดยตรงเลยสะดวกกว่า 08-61316228  / 036-783086 หรือสอบถามกับหลวงพ่ออ้ายก็ได้ท่านอยู่วัดตลอดเวลา08-20956092  ขอเจริญพ

จึงขอเชิญศิษยานุศิษย์ทุกท่านไปร่วมงานทำบุญวันเกิดหลวงพ่อครบอายุ66ปี อย่างพร้อมเพรียงกันนะครับ

 

 

           พระรุ่น3ไตรมาส  วัดดงน้อย หลวงพ่อสารันต์

 

เรามาศึกษาธรรมะอาทิตย์ละคำกันเถอะ

จากหนังธรรมโฆษณ์-อรรถานุกรม เล่ม๑

คำว่า “กิเลส”  มีอรรถลักษณะ๒๑ข้อ ดังนี้

๑.    ”กิเลส“ โดยพยัญชนะ: หมายถึงโดยตัวหนังสือหรือคำแปลตามตัวหนังสือ…

๑.๑ สิ่งที่ทำความเศร้าหมอง.

๑.๒ สิ่งที่เศร้าหมอง.

๑.๓ ของสกปรก.

๑.๔ สิ่งที่ทำความสกปรก.

๒.  ”กิเลส“ โดยอรรถ: หมายถึงโดยความหมาย…

๒.๑ หมายถึง ความเศร้าหมองทางกาย ทางวาจา ได้แก่ความทุศีล ทุกชนิด.

๒.๒ หมายถึง ความเศร้าหมองทางจิตใจ ได้แก่ ราคะ โทสะ โมหะ ทุกชนิด ทุกระดับ,

สูงสุดถึง อหังการมานานุสัย.

๓. ”กิเลส“ โดยไวพจน์: หมายถึงคำที่ใช้เรียกแทนกันได้ทั้งคำบาลีและคำภาษาไทย…

คือ  มละ(มลทิน),  โยคะ(เครื่องผูก),  โอฆะ(เครื่องท่วมทับ),  อัคคิ(เครื่องเผา) ฯลฯ

๔. ”กิเลส“ โดยองค์ประกอบ: หมายถึงปัจจัยที่ต้องมีมากกว่าหนึ่ง.และปัจจัยนั้นๆต้องทำงานร่วม

กันและพร้อมกันในเรื่องเดียวกัน…

๔.๑ สิ่งเป็นที่ตั้งแห่งกิเลส (กาย วาจา ใจ),

๔.๒ สังขาร คือการปรุงให้เกิดกิเลส (ตามกฏอิทัปปัจจยตา),

๔.๓ ความเศร้าหมองที่เกิดขึ้น (หลายชั้น หลายระดับ),

๕. ”กิเลส“ โดยลักษณะ: หมายถึงลักษณะภายนอกที่เป็นเครื่องสังเกตหรือเครื่องกำหนดที่ทำให้รู้ว่าสิ่งนั้นๆเป็นอย่างไร

จึงเรียกว่าอย่างนั้น…

๕.๑ สกปรก เศร้าหมอง น่ารังเกียจ,

๕.๒ แห่งราคะ  คือดึงเข้าหาตัว, แห่งโทสะ คือผลักออก, แห่งโมหะ คือวิ่งอยู่รอบๆ,

๕.๓ ก่อให้เกิดกรรม (เป็นกงล้อกงหนึ่งในวัฏฏะ)

๕.๔ ของบรรดาสิ่งที่เกิดมาจากความเห็นแก่ตัว,

๕.๕ เป็นได้ทั้งบวกและลบ.

๖. ”กิเลส“ โดยอาการ: หมายถึงอาการเคลื่อนไหว หรือแสดงความเคลื่อนไหวตามธรรมชาติของสิ่งนั้นๆ…

๖.๑ อยากได้ อยากทำลาย  สงสัยติดตาม,

๖.๒ ทำให้เกิดความเศร้างหมองโดยส่วนเดียว,

๖.๓ แสดงออกมาได้ทั้งความเป็นบวกและความเป็นลบ,

๗. ”กิเลส โดยประเภท: หมายถึงการจำแนกให้เข้ากันเป็นพวกๆ ตามลักษณะอาการของสิ่งนั้นๆ…

นัยที่หนึ่ง: แบ่งตามความเป็นเหตุและผล: มีสองอย่าง:

๑.กิเลสที่เป็นเหตุ.

๒.กิเลสที่เป็นผล.

แต่อย่าลืมว่ามันเปลี่ยนตัวมันเองได้ คือ กิเลสที่เป็นผลก็กลายมาเป็นกิเลสที่เป็นเหตุได้

นัยที่สอง: แบ่งตามอาการที่แสดง: มีสามอย่าง:

๑.มีอาการดึงเข้ามาแล้วยึดครองไว้:  ได้แก่กิเลสประเภทที่เรียกว่า ราคะ หรือ โลภะ

๒.มีอาการผลักออกไปหรือทำลายเสีย: ได้แก่กิเลสประเภทที่เรียกว่า โทสะ หรือโกธะ,

๓.มีอาการวนอยู่รอบๆ ด้วยความไม่รู่: ได้แก่กิเลสประเภทที่เรียกว่า โมหะ.

นัยที่สาม: แบ่งตามชั้นแห่งเวลา: มีสามอย่าง:

๑.กิเลสที่ปรากฏตัวออกมาจาเหตุซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งกิเลส:  คือ เป็นกิเลสเฉพาะหน้าๆ; จะเรียกมันว่า กิเลส เฉยๆ.

๒.กิเลสที่เป็นความเคยชินแห่งกิเลสที่เก็บสะสมไว้ในสันดาน: ซึ่งเราจะเรียกมันว่า อนุสัย.

๓.กิเลสที่พร้อมที่จะไหลกลับออกจากคลังแห่งอนุสัย เมื่อได้โอกาสหรือปัจจัย: ซึ่งเราจะเรียกมันว่า อาสวะ.

นัยที่สี่:  แบ่งตามอารมณ์ มีหกอย่าง: คือ กิเลสเกิดจากอารมณ์ทางตา, ทางหู, ทางจมูก, ทางกาย, ทางใจ,

นอกจากนั้นยังมีทางที่จะแบ่งตามกาลเวลาและกฎ    เกณฑ์อื่นๆ เป็นกิเลสหลายร้อยหลายพันชนิดก็ได้,

ซึ่งไม่จำเป็นจะต้องนำมากล่าวในที่นี้ทั้งหมด.

๘. ”กิเลส“ โดยกฎเกณฑ์: หมายถึงกฎเกณฑ์ของสิ่งนั้นๆ หรือกฎเกณฑ์เพื่อจะเข้าไปถึงสิ่งนั้นๆ

ซึ่งอาจมีได้ทั้งโดยบัญญัติและโดยธรรมชาติ…

คือ ต้องมีอารมณ์ของกิเลส, ต้องมีความขาดสติ, ต้องมีการปรุงแต่งโดยอำนาจของอวิชชา. ครั้งเกิดแล้วเป็นเหตุให้ทำกรรม.

ป้องกันได้ด้วยความมีสติ.

ตัดเสียได้ด้วยอำนาจของปัญญา. มีรากฐานอยู่บนสัญชาตญาณที่ปราศจากความรู้. เป็นคู่ปรับของโพธิ.

๙. ”กิเลส“ โดยสัจจะ: หมายถึงความจริงเกี่ยวกับสิ่งนั้นๆ…

๙.๑ แน่นอนที่ต้องเศร้าหมอง.

๙.๒ แน่นอนที่ต้องทำกรรม.

๙.๓ แน่นอนที่ต้องเกิดทุกข์.

๙.๔ แน่นอนที่จะต้องเป็นสมบัติของปุถุชน.

๑๐. ”กิเลส“ โดยหน้าที่:(โดยสมมติ)หมายถึงการที่สิ่งมีชีวิตจะต้องกระทำเกี่ยวกับสิ่งนั้นๆ…

๑๐.๑ มีหน้าที่ทำให้เกิดความเศร้าหมอง.

๑๐.๒ มีหน้าที่ทำให้เกิดกรรมและวิบาก  เพื่อการเวียนว่ายไปในวัฏฏะ.

๑๐.๓ มีหน้าที่ทำลายสันติภาพของมนุษย์.

๑๐.๔ มีหน้าที่เป็นพลังของคนโง่.

๑๐.๕ มีหน้าที่เป็นของหอมของงามของอันธพาล.

๑๑. ”กิเลส“ โดยอุปมา:หมายถึงการเปรียบเทียบกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่มนุษย์เข้าใจดีอยู่แล้วเพื่อให้เข้าในสิ่งนั้นๆ

ดียิ่งขึ้นจนถึงที่สุด…

เป็นเสมือนเครื่องรึงรัด.  เหมือนลิ่มสลักขันยึดรถที่กำลังแล่น.

๑๒. ”กิเลส“  โดยสมุทัย: หมายถึงสิ่งที่ทำให้เกิดสิ่งนั้นๆ…

๑๒.๑ อารมณ์ของกิเลส,  ความขาดสติในการรับอารมณ์,  การปรุงแต่งของอวิชชาสามอย่างนี้เป็นสมุทัยของกิเลส.

๑๒.๒ สัญชาติญาณที่ไม่มีส่วนแห่งโพธิ มีแต่ส่วนแห่งกิเลส.

๑๒.๓ รชนียธรรม ทั้งปวง.
๑๓. ”กิเลส“ โดยอัตถังคมะ: หมายถึงความดับของสิ่งนั้นๆ. คือความตั้งอยู่ไม่ได้ชั่วคราว หรือตลอดไปของสิ่งนั้นๆ…

๑๓.๑ การขาดปัจจัยของกิเลสนั้นๆ ตามธรรมชาติ.

๑๓.๒ ความมาทันเวลาของสติสัมปชัญญะ (ปัญญา).

๑๓.๓ ธรรมเป็นข้าศึกแก่กิเลสอย่างใดอย่างหนึ่งปรากฏขึ้น.

๑๓.๔ เวลาว่างจากกิเลส ซึ่งได้ตามธรรมชาติ (เพราะกิเลสมิได้เกิดอยู่ตลอดเวลา).

๑๔.”กิเลส“ โดยอัสสาทะ: หมายถึงเสน่ห์หรือรสอร่อยที่ยั่วยวนของสิ่งนั้นๆ ซึ่งมีต่อมนุษย์…

๑๔.๑ กิเลสมีเสน่ห์ มีรสอร่อยแห่งความหลอกลวงสูงสุด.

๑๔.๒.กิเลสเป็นที่เกิดและเป็นที่ตั้งแห่งนันทิราคะทุกชนิด ทุกระดับ.

๑๕.”กิเลส“ โดยอาทีนวะ: หมายถึงโทษหรือความเลวร้ายของสิ่งนั้นๆ

ซึ่งซ่อนอยู่อย่างเห็นได้ยาก…

๑๕.๑ ทำให้สูญเสียความเป็นมนุษย์เป็นคราวๆ.

๑๕.๒ ทำให้มีอาการเหมือนตกนรกเป็นคราวๆ.

๑๕.๓ ทำให้ติดไปกับวงของวัฏฏะ.

๑๕.๔ ทำให้โลกประสบอุปสรรคและความสูญเสีย.

๑๖.”กิเลส“ โดยนิสสรณะ: หมายถึงอุบายหรือวิธีที่จะออกหรือพ้นจากอำนาจของสิ่งนั้นๆ…

๑๖.๑ อริยมรรคมีองค์แปด หรือความเป็นอยู่ที่ถูกต้อง.

๑๖.๒ ความมีศีล สมาธิ ปัญญา อยู่โดยปกติ.

๑๖.๓ การดำรงอยู่หรือมีชีวิตอยู่อย่างที่ไม่ให้โอกาส, ไม่ให้ปัจจัย,

ไม่ให้อาศัย,ฯลฯ แก่กิเลส: เรียกว่า สัมมาวิหาร ซึ่งทำโลกให้ไม่ว่างจากพระอรหันต์”.

๑๗.”กิเลส“ โดยทางปฏิบัติ: หมายถึงทางปฏิบัติต่อสิ่งนั้นๆเพื่อให้เกิดผลดีตามที่ประสงค์…

เพื่อออกจากการตกเป็นทาสของกิเลส:

๑๗.๑ มีการกระทำที่เป็นการทำลายต้นตอของกิเลส คืออวิชชาอยู่เป็นนิจ.

๑๗.๒ มีสติอยู่ทุกเมื่อ ทุกสถานที่ และทุกกรณี.

๑๗.๓ มีการเป็นอยู่อย่างไม่เห็นแก่ตัว  แต่เห็นแก่ผู้อื่นและความถูกต้อง.

๑๘.”กิเลส“ โดยอานิสงส์: หมายถึงประโยชน์ที่จะพึงได้รับจากการปฏิบัติที่ถูกต้องต่อสิ่งนั้นๆ…

ให้บทเรียน ทำให้ฉลาด เอาชนะกิเลสเพื่อลุถึงนิพพาน

๑๙.”กิเลส“ โดยหนทางถลำ: หมายถึงการมีโอกาสหรือความบังเอิญที่ทำให้เกิดความง่ายแก่การปฏิบัติหรือการทำหน้าทีให้สำเร็จ

ได้โดยง่ายยิ่งขึ้น; แต่ในบางกรณีความบังเอิญนี้มีได้แม้ในฝ่ายลบหรือไม่พึงประสงค์…

เข้าไปอยู่ใต้อิทธิพลของกิเลส

๑๙.๑ ความประมาทปราศจากสติ.

๑๙.๒ ความเป็นอยู่อย่างหละหลวม ปราศจากธรรมเครื่องยึดหน่วง.

๑๙.๓ คบคนพาลเป็นเพื่อนหรือเป็นผู้นำ.

๑๙.๔ อาการชอบทำอะไรตามใจตัว.

๒๐.”กิเลส“ โดยสิ่งที่ต้องเกี่ยวข้อง: ในการเกิดกิเลส   หมายถึงปัจจัยหรืออุปกรณ์พิเศษอื่นๆ

ที่จะช่วยให้การกระทำเกี่ยวกับสิ่งนั้นๆ

เกิดความสำเร็จได้โดยง่ายและโดยเร็วจนถึงที่สุด…

๒๐.๑ ปัจจัยหรืออารมณ์ของกิเลส.

๒๐.๒ อวิชชา ความปราศจากความรู้ที่ถูกต้อง.

๒๐.๓ ความปราศจากสติ.

๒๐.๔ อนุสัย  (ความเคยชินที่จะเกิดกิเลสในภายใน).

๒๑.”กิเลส“ โดยภาษาคน-ภาษาธรรม: หมายถึงการพูดจาที่จะกล่าวถึงสิ่งๆนั้นมีทางพูดได้เป็นสองภาษา

คือ ภาษาคน และ ภาษาธรรม…

โดยภาษาคน: หมายถึงภาษาคนธรรมดาที่ใช้พูด ซึ่งมักระบุไปยังบุคคลหรือวัตถุภายนอก

ที่เรียกว่าบุคคลาธิษฐาน..

โดยภาษาธรรม:หมายถึงภาษาที่ผู้รู้ธรรมพูด ซึ่งมักระบุไปยังคุณค่าหรือคุณสมบัติ

โดยไม่เล็งถึงบุคคลหรือวัตถุ ที่เรียกกันว่า ธรรมาธิษฐาน…

๒๑.๑ ภาษาคน:  ความสกปรกทางวัตถุทางการ  ซึ่งมีการชำระด้วยวัตถุ.

ภาษาธรรม: ความสกปรกทางจิตใจ  ซึ่งต้องชำระด้วยวิปัสสนาญาณ.

๒๑.๒ ภาษาคน:  ดูไม่น่ากลัวหรือเป็นของธรรมดา.

ภาษาธรรม:  ยิ่งกว่าน่ากลัว.

ธรรมะวันละคำจากหนังสือธรรมโฆษณ์ อาทิตย์หน้าพบกับคำว่า ขันธ์ เป็นคำต่อไป ครับ

                                ต้องใช้งบประมาณอีำกจำนวนมาก

พระครูจันทสิริธร (หลวงพ่อสารันต์ จันทูปโม) เจ้าอาวาสวัดดงน้อย  ต.กกโก  อ.เมือง จ.ลพบุรี

ประกาศงานบุญประจำปีนมัสการหลวงพ่อมาลัยไกรศร สิ่งศักสิทธิ์ประจำวัด ในวันเสาร์ที่ ๒๔ มีนาคม ๒๕๕๕

เวลา ๐๙.๐๙น.ฝังตะกรุดทองคำ เวลา ๑๔.๐๐น.ทำพิธีสะเดาะเคราะห์ต่อชะตาเสริมดวง และทอดผ้าป่าสามัคคี

เวลา ๒๐.๐๐น. มีมหรสบสมโภชตลอดคืน

ดังนั้น จึงขอเชิญท่านสาธุชนพุทธบริษัทอุบาสกอุบาสิกาพร้อมศิษยานุศิษย์

ไปร่วมงานอย่างพร้อมเพรียงกันในวันและเวลาดังกล่าว

จึงเจริญพรมาเพื่อทราบ

           ภาพนี้คณะครูโรงเรียนวัดดงน้อยได้จัดไว้ที่ห้องเกียรติยศของโรงเรียน

            ที่หลวงพ่อท่านได้สร้างให้หมดงบ14ล้านบาท

                ภาพหลวงพ่อกำหลังรับเหรียญธรรมจักรจากสมเด็จพระเทพฯ

ชนิดรมดำยังมีเหลือน้อยมาก ใครอยากเป็นเจ้าของจงรีบหน่อย!

พ.ศ.2554 จำนวน 300 ท่าน

              

พระครูจันทสิริธร (หลวงพ่อสารันต์ จันทูปโม) เจ้าอาวาสวัดดงน้อย  ต.กกโก  อ.เมือง จ.ลพบุรี 

ประกาศงานบุญประจำปีนมัสการหลวงพ่อมาลัยไกรศร สิ่งศักสิทธิ์ประจำวัด ในวันเสาร์ที่ ๒๔ มีนาคม ๒๕๕๕

เวลา ๐๙.๐๙น.ฝังตะกรุดทองคำ เวลา ๑๔.๐๐น.ทำพิธีสะเดาะเคราะห์ต่อชะตาเสริมดวง และทอดผ้าป่าสามัคคี  

 เวลา ๒๐.๐๐น. มีมหรสบสมโภชตลอดคืน

               ดังนั้น จึงขอเชิญท่านสาธุชนพุทธบริษัทอุบาสกอุบาสิกาพร้อมศิษยานุศิษย์

ไปร่วมงานอย่างพร้อมเพรียงกันในวันและเวลาดังกล่าว

                                              จึงเจริญพรมาเพื่อทราบ

เรามาศึกษาธรรมะวันละคำกันเถอะ
จากหนังสือธรรมโฆษณ์-อรรถานุกรม เล่ม๑
คำว่า “กรรม”  มีอรรถลักษณะ๒๑ข้อ ดังนี้
๑.กรรมโดยพยัญชนะ: หมายถึงโดยตัวหนังสือหรือคำแปลตามตัวหนังสือ…คือการกระทำ
๒.  ”กรรมโดยอรรถ: หมายถึงโดยความหมาย…คือ กระทำโดยเจตนา: เรียกว่า กรรม; มีผลเป็นวิบาก
๓.กรรมโดยไวพจน์: หมายถึงคำที่ใช้เรียกแทนกันได้ทั้งคำบาลีและคำภาษาไทย…คือ กรณ, ปฏิบัติ, ปฏิปทา,
๔. กรรมโดยองค์ประกอบ: หมายถึงปัจจัยที่ต้องมีมากกว่าหนึ่ง.และปัจจัยนั้นๆต้องทำงานร่วมกันและพร้อมกันในเรื่องเดียวกัน…มีสาม.
   คือ    ๑. เจตนาในการกระทำ (กิเลส).
๒. ความพยายามกระทำ (ปโยคะ).
            ๓. สำเร็จตามความพยายาม.
๕.กรรมโดยลักษณะ: หมายถึงลักษณะภายนอกที่เป็นเครื่องสังเกตหรือเครื่องกำหนดที่ทำให้รู้ว่าสิ่งนั้นๆเป็นอย่างไร จึงเรียกว่าอย่างนั้น…มีลักษณะ:
                        คือ ๕.๑ ตามเจตนาของการกระทำนั้นๆ.
                                    ๕.๒ ไม่เที่ยง, เป็นทุกข์, เป็นอนัตตา, เหมือนสังขตธรรมทั้งปวง.
                                    ๕.๓ เป็นเครื่องจำแนกสัตว์, ควบคุมสัตว์เหมือนเงาตามตัว.     
๖.กรรมโดยอาการ: หมายถึงอาการเคลื่อนไหว หรือแสดงความเคลื่อนไหวตามธรรมชาติของสิ่งนั้นๆ…คือ
๖.๑ มีอาการเกิดขึ้น, ตั้งอยู่, ดับไป, และสิ้นสุดได้ เมื่อสิ้นปัจจัยคือกิเลส. ถ้ายังมีกิเลสก็จะต้องเป็นไปตามอำนาจของกิเลส.
๖.๒ กรรมมีอาการเป็นไปตามกฎแห่งกรรม คือ ปฏิจจสมุปบาท; ทั้งในส่วนของผู้กระทำ หรือผู้รับผลแห่งการกระทำ.
๗.กรรมโดยประเภท: หมายถึงการจำแนกให้เข้ากันเป็นพวกๆ ตามลักษณะอาการของสิ่งนั้นๆ…
            ๗.๑ แบ่งโดยประเภทสอง:
                ๑.กรรมขั้นศีลธรรม: เป็นไปเพื่อการเวียนวายในวัฏฏะ.
                 ๒. กรรมขั้นปรมัตถธรรม: เป็นไปเพื่อการสิ้นสุดแห่งวัฏฏะ.
๗.๒ แบ่งโดยประเภทสาม:
    กลุ่มทีหนึ่ง: บัญญัติตามลักษณะ:
๑.    กรรมที่บัญญัติได้ว่าเป็น กุศล.
๒.    กรรมที่บัญญัติได้ว่าเป็น อกุศล.
๓.    กรรมที่บัญญัติไม่ได้ว่าเป็น กุศล หรือ อกุศล (อัพยากฤต).
กลุ่มที่สอง: บัญญัติตามที่เกิด:
๑.    กายกรรม.
๒.    วจีกรรม.
๓.    มโนกรรม.
กลุ่มที่สาม: บัญญัติตามการกระทำ:
๑.    สนับสนุนกรรมอื่น (ให้หนักขึ้น).
๒.    บีบคั้นกรรมอื่น (ให้เบาลง).
๓.    ตัดขาดกรรมอื่น (ให้เลิกกันไป).
๗.๓ แบ่งโดยประเภทสี่:
      ๑. กรรมดำ  หรือ  กรรมชั่ว.
      ๒. กรรมขาว  หรือ  กรรมดี.
      ๓. กรรมดำขาวเจือกัน คือการกระทำที่เจือกันทั้งชั่วและดี.
       ๔. กรรมไม่ดำไม่ขาว คือเหนือชั่วเหนือดี  เป็นที่สิ้นสุดแห่งกรรมทั้งหลาย.
๘.กรรมโดยกฎเกณฑ์: หมายถึงกฎเกณฑ์ของสิ่งนั้นๆ หรือกฎเกณฑ์เพื่อจะเข้าไปถึงสิ่งนั้นๆ ซึ่งอาจมีได้ทั้งโดยบัญญัติและโดยธรรมชาติ…
            ๘.๑ กรรมมีกฎเกณฑ์ซึ่งสัตว์จะต้องเคารพเชื่อฟังในฐานะเป็นพระเจ้า.
            ๘.๒ กรรมต้องให้ผลอย่างแน่นอน เช่น มีการเคาะที่ไหนย่อมต้องมีเสียงเกิดขึ้นที่นั้น.
            ๘.๓ สัตว์ต้องเป็นไปตามกรรมจนกว่าจะสิ้นกรรม  คืออยู่เหนือกรรม.
            ๘.๔ กรรมต้องให้ผลทันทีที่มีการกระทำเสร็จ.
            ๘.๕ แม้กรรมเก่าที่จะให้ผลเป็นทุกข์ก็มีอยู่  แต่ถ้าประพฤติถูกต้องตามกฏอิทัปปัจจยตา  กรรมนั้นก็ไม่อาจจะให้ผล. ถ้ากระทำกรรมไม่ดำไม่ขาว ก็เป็นอันยกเลิกไป ทั้งกรรมเก่าและกรรมใหม่.
            ๘.๖ สุข-ทุกข์  ในปัจจุบัน  มิใช่เป็นผลของกรรมเก่า; แต่เกิดจากกฏอิทัปปัจจยตาที่สัตว์กระทำถูกหรือกระทำผิด; คือเป็นฝ่ายนิโรธหรือฝ่ายสมุทัย.
            ๘.๗ กรรมและการให้ผลของกรรมที่แท้จริงนั้น  ต้องเป็นเรืองของปัจจุบันธรรม และเป็นสันทิฏฐิโก.
            ๘.๘ ถ้ารักษาจิตไว้ได้  ก็จะไม่มีความผิดพลาดหรือปัญหาใดๆ เกี่ยวกับกรรม.
            ๘.๙ กรรมให้ผลทันทีเมื่อมีการกระทำเสร็จ  นี้เป็นผลของกรรมโดยตรง. ส่วนที่เป็นทางบวกหรือทางลบก็ตามนั้นไม่แน่; เพราะขึ้นอยู่กับเหตุปัจจัยอย่างอื่นอีก  จึงเรียกว่าผลโดยอ้อม.
๙.กรรมโดยสัจจะ: หมายถึงความจริงเกี่ยวกับสิ่งนั้นๆ…
๙.๑ กรรมโดยหลักแห่งศีลธรรม: มีผู้กระทำกรรม; โดยหลักแห่ง              ปรมัตถ   ธรรม:   เป็นเพียงกระแสแห่งอิทัปปัจจยตา.
๙.๒ กรรมไม่ต้องรอผลของการกระทำ  ทำดีก็ดีเสร็จ  ทำชั่วก็ชั่วเสร็จ ตั้งแต่เมื่อทำ.  (ส่วนที่ต้องรอนั้นเป็นเพียงผลพลอยได้ ไม่ว่าจะเป็นแง่บวกหรือแง่ลบ).
๙.๓ ผลของกรรมที่จะติดตามมา ไม่จำเป็นต้องมีรูปแบบเหมือนกับตัวกรรม; บางทีอาจจะเป็นตรงกันข้ามก็ได้  เพราะมีปัจจัยอื่นเข้ามาแทรกแซงได้.
๙.๔ กรรม ผลกรรม ผู้ทำกรรม ล้วนแต่เปลี่ยนแปลงตามเหตุตามปัจจัย  ทั้งโดยตรงและโดยอ้อมอยู่เสมอ; จึงจะหวังเอาตามใจไม่ได้
๙.๕ กรรมและผลของกรรม  แม้ในอัตภาพนี้ก็มีมากมายจนเหลือที่จะจัดการได้อยู่แล้ว; นับประสาอะไรจะไปพูดถึงชาติหน้า.
๙.๖ กรรมที่เป็นสังขารการปรุงแต่ง  มีอยู่สามชนิด: คือ อบุญ(บาป), บุญ (บุญที่ยังหวั่นไหว), อเนญชา บุญที่ไม่มีความหวั่นไหว).
๙.๗ ขึ้นชื่อว่ากรรมแล้วต้องเป็นทุกข์ทั้งนั้น  แม้กรรมดีมีสุขก็ยังเป็นทุกข์อย่างดี  หรือทุกข์อย่างคนมีความสุข; ต้องเหนือกรรมทั้งปวงจึงจะไม่มีทุกข์ แถงยังเหนือทุกข์อีกด้วย.
๙.๘ สิ้นกรรมไม่ได้หมายความว่าตาย; แต่หมายถึงสิ้นกิเลสที่เป็นเหตุให้ทำกรรม.
๙.๙ กรรมมีอยู่ในทุกรอบแห่งปฏิจจสมุปบาท.
๙.๑๐ กรรมในชั้นปรมัตถธรรม  ไม่มีผู้กระทำกรรมหรือการกระทำกรรม;  มีแต่อาการแห่งปฏิจจสมุปบาท.
๑๐.กรรม“  โดยหน้าที่: (โดยสมมติ) หมายถึงการที่สิ่งมีชีวิตจะต้องกระทำเกี่ยวกับสิ่งนั้นๆ.
๑๐.๑ กรรมทำหน้าจำแนกสัตว์  หรือ ปรุงแต่งสัตว์ ให้เป็นไปตาม
         ลักษณะของเหตุปัจจัย.
๑๐.๒ ยกเว้นกรรมไม่ดำไม่ขาวเสียแล้ว  กรรมย้อมทำสัตว์ให้เวียนว่าย
          อยู่ในวัฏฏะ.
๑๐.๓ กรรมก็ตาม  กิริยาก็ตาม  มีหน้าที่ให้เกิดวิบากและปฏิกิริยา.
๑๑.กรรมโดยอุปมา:หมายถึงการเปรียบเทียบกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่มนุษย์เข้าใจดีอยู่แล้วเพื่อให้เข้าในสิ่งนั้นๆ ดียิ่งขึ้นจนถึงที่สุด…
                        ๑๑.๑ ลิ่มสลัก  (สกรูนอต) ที่ตรึงสัตว์ให้ติดอยู่ในวัฏฏะ.
                        ๑๑.๒ ยมบาล  ผู้จัดการทุกอย่างอย่างถูกต้อง  ทั้งแก่คนทำดีและ
         คนทำชั่ว.
๑๑.๓ กรรมหรือกฎแห่งกรรม  มีอุปมาเหมือนพระเป็นเจ้าให้รางวัลแก่คนทำถูก  และลงโทษคนทำผิดอย่างไม่รับสินบน.
๑๒.กรรม“  โดยสมุทัย: หมายถึงสิ่งที่ทำให้เกิดสิ่งนั้นๆ…
                        ๑๒.๑ สมุทัยแห่งกรรมมีสามระยะ:
                               ๑. เวทนา  (ความรู้สึก  สุข-ทุกข์).
                                ๒. ตัณหา  (กิเลส).
                                ๓. อุปาทาน  (ความยึดมั่น).
                                   แล้วแต่จะก่อขึ้นในระยะใดระยะหนึ่งในสามระยะนี้.
                                  ทั้งสามระยะนี้มีอวิชชาเป็นตัวการอยู่เบื้องหลัง.
                        ๑๒.๒ ถ้ากล่าวอย่างสรุปสั้นที่สุด  ความต้องการเป็นเหตุให้ทำกรรม
                                 ตามชนิดของความต้องการ.
๑๓.กรรมโดยอัตถังคมะ: หมายถึงความดับของสิ่งนั้นๆ. คือความตั้งอยู่ไม่ได้ชั่วคราว หรือตลอดไปของสิ่งนั้นๆ…
๑๓.๑ ความดับไปตามคราวเพราะขาดเหตุปัจจัยตามธรรมของ
         สังขารธรรมหรือสังขตธรรมทั้งหลาย.
๑๓.๒ เมื่อสิ้นความต้องการหรือตัณหา.
๑๔.กรรมโดยอัสสาทะ: หมายถึงเสน่ห์หรือรสอร่อยที่ยั่วยวนของสิ่งนั้นๆ ซึ่งมีต่อมนุษย์…
                        ๑๔.๑ คนยอมทำกรรมตามความพอใจของตนๆ จึงเป็นอัสสาทะแก่
                               ผู้กระทำทั้งกรรมดีและกรรมชั่ว.
๑๔.๒ กรรมชั่วเป็นอัสสาทะของคนชั่ว; กรรมดีเป็อัสสาทะของคนดี.
         (รวมไปถึงผลของกรรมด้วย).
๑๕.กรรม โดยอาทีนวะ: หมายถึงโทษหรือความเลวร้ายของสิ่งนั้นๆ ซึ่งซ่อนอยู่อย่างเห็นได้ยาก…
                            คือ  การทำให้ต้องเวียนว่ายไปตามกรรม ยกเว้นกรรมไม่ดำไม่ขาว  
          ซึ่งไม่มีอาทีนวะ.         
๑๖.”กรรมโดยนิสสรณะ: หมายถึงอุบายหรือวิธีที่จะออกหรือพ้นจากอำนาจของสิ่งนั้นๆ…
                          ๑๖.๑ การดำเนินชีวิตตามอริยมรรคมีองค์แปด.
                          ๑๖.๒ กรรมไม่ดำไม่ขาวหรือกรรมที่สี่ เป็นนิสสรณะของกรรมทั้งสาม
                                 ข้างต้น.
                          ๑๖.๓ ปฏิจจสมุปบาทฝ่ายนิโรธวาร เป็นนิสสรณะของกรรม ทั้งชนิด
                                  ชั่วคราวและเด็ดขาด.
๑๗.กรรมโดยทางปฏิบัติ: หมายถึงทางปฏิบัติต่อสิ่งนั้นๆเพื่อให้เกิดผลดีตามที่ประสงค์..
                        ๑๗.๑ เพื่อเข้าสู่กรรมดี: คือ กุศลกรรมบถสิบ.
                        ๑๗.๒ เพื่อสิ้นกรรม: คือ การปฏิบัติเพื่อทำลายความยึดมั่นถือมั่นว่า
                           ตัวตน;  ว่าดี-ว่าชั่ว, ว่าสุข-ว่าทุกข์ ฯลฯ; เมื่อหมดตัวตนก็หมดกรรม.
๑๘.กรรมโดยอานิสงส์: หมายถึงประโยชน์ที่จะพึงได้รับจากการปฏิบัติที่ถูกต้องต่อสิ่งนั้นๆ…
                        ๑๘.๑ กรรมดำ: นำไปสู่ทุคติ.
                        ๑๘.๒ กรรมขาว: นำไปสู่สุคติ.
                        ๑๘.๓ กรรมดำขาวเจือกัน: นำไปสู่ทั้งทุคติและสุคติ.
                        ๑๘.๔ กรรมไม่ดำไม่ขาว: นำไปสู่นิพพานหรือความสิ้นกรรม.
๑๙.กรรมโดยหนทางถลำ: หมายถึงการมีโอกาสหรือความบังเอิญที่ทำให้เกิดความง่ายแก่การปฏิบัติหรือการทำหน้าทีให้สำเร็จได้โดยง่ายยิ่งขึ้น; แต่ในบางกรณีความบังเอิญนี้มีได้แม้ในฝ่ายลบหรือไม่พึงประสงค์…
                        ๑๙.๑ สู่กรรมดำ: คบคนพาล
๒๐.”——–“ โดยสิ่งที่ต้องเกี่ยวข้อง: หมายถึงปัจจัยหรืออุปกรณ์พิเศษอื่นๆที่จะช่วยให้การกระทำเกี่ยวกับสิ่งนั้นๆ เกิดความสำเร็จได้โดยง่ายและโดยเร็วจนถึงที่สุด…
๒๑.”——–“ โดยภาษาคน-ภาษาธรรม: หมายถึงการพูดจาที่จะกล่าวถึงสิ่งๆนั้นมีทางพูดได้เป็นสองภาษา คือ ภาษาคน และ ภาษาธรรม…
โดยภาษาคน:หมายภาษาคนธรรมดาที่ใช้พูด ซึ่งมักระบุไปยังบุคคลหรือวัตถุภายนอก ที่เรียกว่าบุคคลาธิษฐาน…
โดยภาษาธรรม:หมายถึงภาษาที่ผู้รู้ธรรมพูด ซึ่งมักระบุไปยังคุณค่าหรือคุณสมบัติโดยไม่เล็งถึงบุคคลหรือวัตถุ ที่เรียกกันว่า ธรรมาธิษฐาน…
ศุกร์หน้าพบกับคำว่า “กาม” เป็นธรรมะในคำต่อไป
                   ** *** ** ***
 
 

หลวงพ่อมาลัย-ไกรศร  สิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำวัดดงน้อย

ชาวบ้านดงน้อยจัดเลี้ยงไหว้ถวายหลวงพ่อมาลัย-ไกรศร

                            ทุกปี  ปีละ๒ครั้ง      

     ครั้งที่๑ ขึ้น๙ค่ำ เดือนยี่(เดือน๒)  

     ครั้งที่๒ ขึ้น๙ค่ำเดือน๖ เป็นงานใหญ่ นิมนต์พระเจริญพระพุทธมนต์เย็นเป็นเวลา๓วัน

และเลี้ยงพระทุกวัน เช้า-เพล วันสุดท้ายหลวงพ่อท่านจะลงมาประทัพในร่างของผู้หญิงสูงอายุ

คนหนึ่งทุกครั้งที่มีการจัดเลี้ยงถวาย มีวงดนตรีเล่นและชาวบ้านรำถวายหลวงพ่อด้วย

ชาวบ้านทำสืบทอดกันมาเป็น100ๆปีแล้ว             

ส่วนของที่จะเซ็นไหว้แก้บนถวายหลวงพ่อมาลัย-ไกรศร มีดังนี้

  ๑.ขนมบัวลอย๔ถ้วย ไม่ใส่กะทิ,  ๒.มะพร้าวอ่อน ๒ลูก, ๓.หมาก๑คำ,   

  ๔.ยามวนใบตอง๑มวน, ๕.พวงมาลัย,ช้าง,ม้า, ๖.ผ้าไตร ๑ชุด,  ๗.น้ำเปล่า๑แก้ว      

นอกนั้นท่านไม่รับ (ทั้งหมดนี้ มีอย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้)

   ข้อห้าม-สำหรับคนที่จะมาแก้บน=ถ้าวันไหนตรงกับวันพระ    

วันสงกรานต์และวัดมีงานศพห้ามแก้บนเด็ดขาด

               เรามาศึกษาธรรมะวันละคำกันเถอะ
                        จากหนังสือธรรมโฆษณ์-อรรถานุกรม เล่ม๑คำว่า “ กาม ”  มีอรรถลักษณะ ๒๑ข้อ  ดังนี้
 ๑. ”กาม“ โดยพยัญชนะ: หมายถึงโดยตัวหนังสือหรือคำแปลตามตัวหนังสือ…คือ ความใคร่.
 ๒.  ”กาม“  โดยอรรถ: หมายถึงโดยความหมาย…ความรู้สึกที่เป็นความใคร่. ส่วนใหญ่ หมายถึง  ความรู้สึกเกี่ยวกับเพศตรงกันข้ามในระดับของสัญชาตญาณก็ได้, ในระดับที่ เจริญเกินกว่าระดับของสัญชาตญาณก็ได้.  คำๆนี้ใช้หมายถึงตัวความรู้สึกเช่นนั้นก็ได้  เรียกว่ากิเลสกาม,  หมายถึงสิ่งที่เป็นอารมณ์ของความรู้สึกเช่นนั้นก็ได้  เรียกว่า วัตถุกาม  หรือ กามคุณ, หรือหมายถึงอาการหรือการกระทำตามความรู้สึกเช่นนั้นก็ได้  เรียกว่ากามหรือกามวิตก.
 ๓. ”กาม“  โดยไวพจน์: หมายถึงคำที่ใช้เรียกแทนกันได้ทั้งคำบาลีและคำภาษาไทย…คือ นันทิ,ราคะ, ตัณหา,  ฯลฯ  ความกำหนัด, ความยินดี,
 ๔. ”กาม“  โดยองค์ประกอบ: หมายถึงปัจจัยที่ต้องมีมากกว่าหนึ่ง.และปัจจัยนั้นๆต้องทำงานร่วมกันและพร้อมกันในเรื่องเดียวกัน. 
                ๔.๑  เวทนาที่ประกอบอยู่ด้วยอวิชชาอันเป็นเหตุให้ใคร่     
                ๔.๒  อารมณ์ของความใคร่. 
                ๔.๓  กิริยาที่ใคร่                    
 ๕. ”กาม“ โดยลักษณะ:  หมายถึงลักษณะภายนอกที่เป็นเครื่องสังเกตหรือเครื่องกำหนดที่ทำให้รู้ว่าสิ่งนั้นๆเป็นอย่างไร จึงเรียกว่าอย่างนั้น…                                     
               ๕.๑  แห่งความเขลา  (อวิชชา).                                     
               ๕.๒  แห่งความยึดมั่นถือมั่น (อุปาทาน)                                     
               ๕.๓  แห่งความไม่รู้จักอิ่มจักพอ.                                               
                  ๕.๔  เผาลนหรือกัดเจ้าของ                                               
                  ๕.๕  แห่งความดิ้นรนแสวงหา.                                     
              ๕.๖  ให้เกิดการกระทำอย่างอื่นต่อไป.
 ๖. ”กาม“  โดยอาการ: หมายถึงอาการเคลื่อนไหว หรือแสดงความเคลื่อนไหวตามธรรมชาติของสิ่งนั้นๆ   มีอาการคือ
                  ๖.๑  ดิ้นรนแสวงหา  (ปริเยสนา).                                     
               ๖.๒  เพลิดเพลินยินดี (นันทิ).                                     
               ๖.๓  สยบมัวเมาในสิ่งที่ได้มา (มุจฉา).                                     
               ๖.๔  แห่งการเผาลนหรือกัดเจ้าของ.                                     
               ๖.๕  แห่งการหึงหวงเห็นแก่ตัว.                                     
               ๖.๖  ปรุงกามภพ.
 ๗. ”กาม“  โดยประเภท: หมายถึงการจำแนกให้เข้ากันเป็นพวกๆ ตามลักษณะอาการของสิ่งนั้นๆ.          
                คือแบ่งโดยประเภทสอง: 
                                         ๑. กิเลสกาม: คือกามที่เป็นตัวกิเลส.                                                          
                                         ๒. วัตถุกาม: คือ กามที่เป็นตัววัตถุของกิเลส. (หรือจะแบ่งเป็น     สามประเภทก็ได้  โดยเพิ่มตัวกาม  ซึ่งเป็นตัวกิริยาอาการแห่งการกระทำ)
      ๘. ”กาม“  โดยกฎเกณฑ์: หมายถึงกฎเกณฑ์ของสิ่งนั้นๆ หรือกฎเกณฑ์เพื่อจะเข้าไปถึงสิ่งนั้นๆ ซึ่งอาจมีได้ทั้งโดยบัญญัติและโดยธรรมชาติ
                                     ๘.๑ กฎเกณฑ์ของความเป็นกามหรือความสมบูรณ์ของกาม: ต้องนำหน้าด้วยมิจฉาสังกัปปะหรืออวิชชา  แล้ว ตามด้วยกิเลสกาม  วัตถุกาม 
                              และ กิริยากาม, รวมทั้งผล  สะท้อนที่เกิดตามมา  เช่นกามภพ  หรือวิกฤตการณ์ทั้งหลายที่เนื่องกันอยู่.
                           ๘.๒ กามทุกรูปแบบหรือทุกกรณี มีสายแห่งปฏิจจสมุปบาทของมันเองย่างสมบูรณ์.
  ๙. ”กาม“  โดยสัจจะ: หมายถึงความจริงเกี่ยวกับสิ่งนั้นๆ.     
                  นัยที่หนึ่ง:  เกี่ยวกับมนุษย์เพื่อไม่สูญพันธุ์:   เป็นความลับของธรรมชาติ   ใช้กามเป็นเครื่องล่อหรือจ้างมนุษย์ให้ทำการสืบพันธุ์  
         ซึ่งตามปกติเป็นสิ่งเจ็บปวด   ยุ่งยาก   ลำบาก  ไม่อยากกระทำ,  แต่ก็ทนอำนาจของกามไม่ได้  จึงกระทำการสืบพันธุ์.    
                   นัยที่สอง: เกี่ยวกับการพัฒนาหรือวิวัฒนาการมีกามเป็นเครื่องชักนำให้ก้าวหน้าไม่มีที่สิ้นสุด.         
                   นัยทีสาม:  เกี่ยวกับสังคม: คือ มีการต่อสู้แข่งขันแย่งชิงเกี่ยวกับสิ่งที่เรียกว่ากาม; จนกระทั่งเกิดอาชญากรรมอย่างไม่มีที่สิ้นสุด.         
                    นัยที่สี่:  เกี่ยวกับการขัดแย้งในโลกมีการทะเลาะวิวาทเกี่ยวกับกาม;  แม้ที่สุดในระหว่างพี่กับน้อง   หรือบิดากับบุตร.         
                   นัยที่ห้า:  เกี่ยวกับชั้นหรือภูมิแห่งจิตใจมนุษย์คือกามธาตุ   เป็นความหมายสำคัญของสัตว์  ที่ตั้งอยู่ในกามาวจรภูมิ; 
         ถ้าก้าวล่วงกามธาตุเสียได้  ก็ย่อมเปลี่ยนเป็น      ภูมิที่สูงขึ้นไป.         
                   นัยที่หกเกี่ยวกับการปฏิบัติธรรม:  คือกามธาตุ   เป็นสิ่งที่ต้องละในชั้นต้นแห่งการก้าวไปสู่โลกุตตรภูมิ.
  ๑๐. ”กาม“   โดยหน้าที่: หมายถึงการที่สิ่งมีชีวิตจะต้องกระทำเกี่ยวกับสิ่งนั้นๆ…                  
                   ๑๐.๑  หน้าที่ (โดยสมมติ) ของสิ่งที่เรียกว่ากาม:   คือ  การปรุงแต่งให้เกิดกามภพ  และหมู่สัตว์ทั้งหลายผู้ตกอยู่ในวิสัยแห่งกาม.                  
                    ๑๐.๒  หน้าที่ของมนุษย์ต่อสิ่งที่เรียกว่ากาม:  คือ ทำการศึกษาให้รู้จักสิ่งที่เรียกว่ากาม; แล้วเปลื้องตนออกมาเสียจากอำนาจของสิ่งที่เรียกว่ากาม; 
     เรียกว่าอยู่เหนือกาม. มิฉะนั้นจะเป็นสัตว์นรกอยู่ในเมืองสวรรค์; ดังที่กำลังมี  กำลังเป็นอยู่ในบัดนี้ แม้ในโลกนี้.                  
                     ๑๐.๓  หน้าที่ของผู้สืบพระศาสนาต่อสิ่งที่เรียกว่ากาม:  คือ  การสั่งสอน  การทำตัวอย่างให้ดู 
         และการช่วยเหลือให้สัตว์ทั้งหลายได้ออกมาเสียจากอำนาจของกาม;  มิใช่เป็นผู้จมกามเสียเอง
  ๑๑. ”กาม“  โดยอุปมา: หมายถึงการเปรียบเทียบกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่มนุษย์เข้าใจดีอยู่แล้วเพื่อให้เข้าในสิ่งนั้นๆ ดียิ่งขึ้นจนถึงที่สุด…      เปรียบเหมือน:
                       ๑๑.๑  หัวงูพิษ   ที่คนมักจับเอาโดยไม่รู้จัก.                            
                       ๑๑.๒  บ่วงคล้องสัตว์  ดิ้นให้หลุดไม่ได้.                            
                        ๑๑.๓  คบเพลิงหญ้า  ถือทวนลมไหม้มือผู้ถือ.                            
                        ๑๑.๔  หลุมถ่านเพลิง  ตกลงไปแล้วยากที่จะรอด.                            
                        ๑๑.๕  เบ็ดที่หุ้มเหยื่อ  สำหรับเกี่ยวปลาโง่.                            
                        ๑๑.๖  ลูกศรอาบยาพิษ  มีความเจ็บปวดสูงสุดในระยะหลัง.                            
                        ๑๑.๗  ท่องกระดูกมีเนื้อติดแต่เล็กน้อย ให้ความสุขน้อย ให้ทุกมากในการกิน                            
                         ๑๑.๘  เขียงรองสับเนื้อ  เป็นที่รองรับการสับโขกรอบด้าน.                            
                         ๑๑.๙  ชิ้นเนื้อในปากสัตว์ที่จะถูกสัตว์อื่นตามยื้อแย่ง                            
                         ๑๑.๑๐ หอกและหลาว  ซึ่งมีไว้เพียงเพื่อการแทงตัวเอง.                            
                         ๑๑.๑๑ วัตถุในฝัน  ซึ่งพอตื่นขึ้นมาก็หายสาบสูญไป.                            
                          ๑๑.๑๒ ของที่ยืมเขามา  ซึ่งไม่อาจถือเอาเป็นกรรมสิทธิ์ได้  ต้องคืนเจ้าของ.                            
                          ๑๑.๑๓ ดอกไม้ของมาร  สำหรับล่อสัตว์.
๑๒. ”กาม“   โดยสมุทัย: หมายถึงสิ่งที่ทำให้เกิดสิ่งนั้นๆ…                            
                          ๑๒.๑ อวิชชา ในกาม ความไม่รู้โดยประการทั้งปวง.                            
                           ๑๒.๒  ความหลงใหลในอัสสาทะของกาม.                            
                           ๑๒.๓  ความสุกงอมของต่อมแกลนด์สำหรับความรู้สึกทางเพศ ตามสัญชาตญาณของสามัญสัตว์. (คำกล่าวนี้เป็นกรรมวิธีหรือกล
          ไกของธรรมชาติ มิใช่ข้อความในพระคัมภีร์ แต่ก็เป็นสิ่งที่ควรรู้ในการปฏิบัติธรรม;  จึงนำมากล่าว).                            
                            ๑๒.๔  การถูกแวดล้อมด้วยอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งความรู้สึกทางกามซึ่งเป็นปัญหาที่กำลังมีอยู่ในปัจจุบัน.
  ๑๓. ”กาม“  โดยอัตถังคมะ: หมายถึงความดับของสิ่งนั้นนั้นๆ:  คือความตั้งอยู่ไม่ได้ชั่วคราว หรือตลอดไปของสิ่งนั้นๆ…                  
                            ๑๓.๑  ความดับไปตามคราวเพราะเสร็จกิจ  หรือขาดเหตุปัจจัยตามธรรมดาของสังขารธรรมหรือสังขตธรรมทั้งหลาย.                  
                             ๑๓.๒  พลังสติ พลังวิชชา มาทันเวลาก่อนแต่จะเกิด หรือกำลังเกิดอยู่ก็ตาม.                  
                             ๑๓.๓  ความดับแห่งกามมี  เพราะความแห่งเวทนา.
  ๑๔.”กาม“  โดยอัสสาทะ: หมายถึงเสน่ห์หรือรสอร่อยที่ยั่วยวนของสิ่งนั้นๆ ซึ่งมีต่อมนุษย์.                       
                                    ๑๔.๑  รสอร่อยและความเมาในรสอร่อย  ที่ได้มาจากการบริโภคกาม.                  
                             ๑๔.๒  กามมุจฉา  ความเมาในความประสงค์ของกิเลสกาม.
 ๑๕.”กาม“  โดยอาทีนวะ: หมายถึงโทษหรือความเลวร้ายของสิ่งนั้นๆ ซึ่งซ่อนอยู่อย่างเห็นได้ยาก.                       
                                     ๑๕.๑  ทำความเจ็บปวดเป็นทุกข์แก่ผู้ยึดครอง; ทั้งก่อนได้  ได้อยู่และจากไป;  ในลักษณะที่เรียกว่า  มีสุขน้อย  มีทุกข์มาก;  ไม่คุ้มค่า.                  
                              ๑๕.๒  เป็นต้นเหตุแห่งความเสื่อมศีลธรรม; แม้กระทั่งอาชญากรรมทุกชนิด เช่น อาชญากรรมวิปริต เช่น ลูกฆ่าพ่อ ฯลฯ                   
                              ๑๕.๓  กามและปัจจัยแห่งกามทุกชนิด   เป็นมูลเหตุแห่งความเห็นแก่ตัวทุกระดับ; เป็นเหตุให้เกิดบุคคลมีลักษณะ
           ไม่พึงปรารถนาทุกรูปแบบขึ้นมาในโลก.
    ๑๖.”กาม“  โดยนิสสรณะ: หมายถึงอุบายหรือวิธีที่จะออกหรือพ้นจากอำนาจของสิ่งนั้นๆ.                       
                                     ๑๖.๑  อริยอัฏฐังคิกมรรค  ซึ่งมีสัมมาทิฏฐิเป็นตัวนำ.                  
                                    ๑๖.๒  มีอุบายเป็นเครื่องพิจารณาเหตุโทษแห่งกามอยู่เป็นประจำ.
   ๑๗.”กาม“  โดยทางปฏิบัติ: หมายถึงทางปฏิบัติต่อสิ่งนั้นๆเพื่อให้เกิดผลดีตามที่ประสงค์.              เพื่อออกจากกาม.                    
                                    ๑๗.๑  อริยมรรคมีองค์แปด: หรืออีกนัยหนึ่งเรียกว่า ศีล สมาธิ ปัญญา.                    
                                    ๑๗.๒. การมีปัญญาหรือวิปัสสนาญาณ:  ที่ทำให้มองเห็นว่า   กามทั้งหลายทุกชนิดเป็นสักว่าธาตุตามธรรมชาติ  เรียกว่ากามธาตุ; 
                แล้วหยุดความยินดีมัวเมาในกามเสียได้.
   ๑๘.”กาม“  โดยอานิสงส์: หมายถึงประโยชน์ที่จะพึงได้รับจากการปฏิบัติที่ถูกต้องต่อสิ่งนั้นๆ.                       
                                        ๑๘.๑  อานิสงส์ของกามโดยสมมติหรือโดยอ้อมเป็นบทเรียน,  เป็นที่ตั้งแห่งการศึกษา,  เพื่อให้รู้จักสิ่งที่มนุษย์ควรจะรู้จัก;
                     เพื่อความหมดปัญหาเกี่ยวกับสิ่งที่เรียกว่ากาม.                  
                                ๑๘.๒  อานิสงส์โดยตรงของการอยู่หรืออำนาจของกาม:  คือ ความสงบสุข  เพราะหมดไฟกิเลสประเภทนี้.                  
                                ๑๘.๓  ในความหมายทางโลกๆความรู้สึกทางกามเป็นปัจจัยแห่งการพัฒนาไปตามประสาโลกๆ
              แม้ไม่เป็นไปเพื่อการดับทุกข์ในขั้นสุดท้าย   ก็ยังเป็นที่นิยมกันอยู่.
      ๑๙.”กาม“  โดยหนทางถลำ: หมายถึงการมีโอกาสหรือความบังเอิญที่ทำให้เกิดความง่ายแก่การปฏิบัติหรือการทำหน้าทีให้สำเร็จได้โดยง่ายยิ่งขึ้น;
             แต่ในบางกรณีความบังเอิญนี้มีได้แม้ในฝ่ายลบหรือไม่พึงประสงค์.    เข้าไปอยู่ใต้อิทธิพลของกาม                  
                                                 ๑๙.๑  การเป็นอยู่อย่างไม่สำรวมอินทรีย์.                  
                                ๑๙.๒  การทนไม่ได้ต่อความยั่วยุของกามารมณ์ในทุกรูปแบบ.                  
                                ๑๙.๓  นิสัยแห่งการตามใจตัวเอง,  ไม่ยับยั้งสังวรในความรู้สึกชั่ววูบที่เกิดขึ้น  ซึ่งจะทำให้ต้องเสียใจในภายหลัง.
    ๒๐.”กาม“  โดยสิ่งที่ต้องเกี่ยวข้อง: หมายถึงปัจจัยหรืออุปกรณ์พิเศษอื่นๆที่จะช่วยให้การกระทำเกี่ยวกับสิ่งนั้นๆ เกิดความสำเร็จได้โดยง่ายและโดยเร็วจนถึงที่สุด.   
                 ในการที่จะเอาชนะกามหรือการมีอำนาจเหนือกาม
                                             ๒๐.๑  ความสติ  ปัญญา  สัมปชัญญะ  สมาธิ  อย่างเพียงพอ และรวดเร็ว.                
                              ๒๐.๒  อยู่ในท่ามกลางสิ่งแวดล้อมที่ไม่สนับสนุนความรู้สึกทางกาม.
       ๒๑.”กาม“  โดยภาษาคน-ภาษาธรรม: หมายถึงการพูดจาที่จะกล่าวถึงสิ่งๆนั้นมีทางพูดได้เป็นสอง ภาษา คือ     
                                      ภาษาคน  และ ภาษาธรรม.   โดยภาษาคน:หมายภาษาคนธรรมดาที่ใช้พูด ซึ่งมักระบุไปยังบุคคลหรือวัตถุภายนอก ที่เรียกว่าบุคคลาธิษฐาน…
                 โดยภาษาธรรม:หมายถึงภาษาที่ผู้รู้ธรรมพูด ซึ่งมักระบุไปยังคุณค่าหรือคุณสมบัติโดยไม่เล็งถึงบุคคลหรือวัตถุ ที่เรียกกันว่า ธรรมาธิษฐาน.
                               ภาษาคน:   หมายถึงแต่เรื่องทางเพศ          
                               ภาษาธรรมไม่เกี่ยวกับเพศก็ได้;   หมายถึงสิ่งที่เป็นที่ตั้งแห่งความปรารถนาทุกชนิด เช่นธัมมกาโม (ผู้ใคร่ในธรรม).                  
                               ภาษาคน:   เป็นสิ่งที่น่าปรารถนา.                  
                               ภาษาธรรมเป็นสิ่งที่น่าขยะแขยง. 
                                                                                                                         ธรรมะวันละคำจากหนังสือธรรมโฆษณ์ ศุกร์หน้าพบกับคำว่า กิเลส เป็นคำต่อไป ครับ

กลับไปสารบัญ

 ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร      

พระสูตรว่าด้วยการยังธรรมจักรให้เป็นไปหรือดำเนินไป

       พระสูตรว่าด้วยการหมุนวงล้อธรรม ขับเคลื่อนพระศาสนา เป็นชื่อของ ปฐมเทศนา คือพระธรรมเทศนาครั้งแรก ซึ่งพระพุทธเจ้าทรงแสดงแก่พระปัญจวัคคียทั้ง๕ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แขวงเมืองพาราณสี ในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘  คือภายหลังจากการตรัสรู้แล้ว ๒ เดือน ซึ่งก็คือวันอาสาฬหบูชาในสมัยปัจจุบันนั่นเอง   เป็นพระสูตรที่ว่าด้วยมัชฌิมาปฏิปทา คือทางสายกลาง ซึ่งเว้นที่สุดทั้ง ๒ อย่าง และว่าด้วยอริยสัจ ๔ ความจริงของอริยะ หรือความจริงอันประเสริฐทั้ง ๔  ซึ่งพระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้ อันทำให้พระองค์สามารถปฏิญาณว่า ได้ตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ(ญาณชนิดตรัสรู้เองโดยชอบอันยอดเยี่ยม)
ท่านโกณฑัญญะ หัวหน้าคณะปัญจวัคคีย์ เมื่อได้ฟังพระธรรมเทศนานี้แล้ว ได้ดวงตาเห็นธรรม (ธรรมจักษุ)  และขอบวชเป็นพระภิกษุรูปแรกในพระศาสนา เรียกว่าเป็น ปฐมสาวก

ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร

กลับไปพุทธพจน์

ปฐมเทศนา

แสดงธรรมเป็นครั้งแรกในโลก แก่พระปัญจวัคคีย์ทั้ง ๕

(จาก พระไตรปิฎก ฉบับสมาคมศิษเก่ามหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย)

        [๑๓] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งกะพระปัญจวัคคีย์ว่า

        ดูกรภิกษุทั้งหลาย   ที่สุดสองอย่างนี้อันบรรพชิตไม่ควรเสพ คือ

        การประกอบตนให้พัวพันด้วยกามสุขในกามทั้งหลาย (กามสุขัลลิกานุโยค)  

        เป็นธรรมอันเลว   เป็นของชาวบ้าน  เป็นของปุถุชน

        ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ๑

        การประกอบความเหน็ดเหนื่อยแก่ตน เป็นความลำบาก (อัตตกิลมถานุโยค)

        ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ๑

        ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปฏิปทาสายกลาง ไม่เข้าไปใกล้ที่สุดสองอย่างนั้น   

        นั่นตถาคตได้ตรัสรู้แล้วด้วยปัญญาอันยิ่ง ทำดวงตาให้เกิด ทำญาณให้เกิด

        ย่อมเป็นไปเพื่อความสงบเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน

        ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ปฏิปทาสายกลางที่ตถาคตได้ตรัสรู้แล้วด้วยปัญญาอันยิ่ง

        ทำดวงตาให้เกิด ทำญาณให้เกิด ย่อมเป็นไปเพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพานนั้น เป็นไฉน?

        ปฏิปทาสายกลางนั้น ได้แก่อริยมรรค มีองค์ ๘ นี้แหละคือ  

                ปัญญาอันเห็นชอบ(สัมมาทิฏฐิ) ๑,   

                ความดำริชอบ(สัมมาสังกัปปะ) ๑,   

                เจรจาชอบ(สัมมาวาจา) ๑,   

                กระทำชอบ(สัมมากัมมันตะ) ๑,   

                เลี้ยงชีวิตชอบ(สัมมาอาชีวะ) ๑,   

                พยายามชอบ(สัมมาวายามะ) ๑,  

                ระลึกชอบ(สัมมาสติ) ๑,   

                ตั้งจิตชอบ(สัมมาสมาธิ) ๑  

        ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้แลคือปฏิปทาสายกลางนั้น ที่ตถาคตได้ตรัสรู้แล้วด้วยปัญญาอันยิ่ง ทำดวงตาให้เกิด ทำญาณให้เกิด ย่อมเป็นไปเพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้เพื่อนิพพาน.

        [๑๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้แลเป็นทุกขอริยสัจ คือ ความเกิดก็เป็นทุกข์   ความแก่ก็เป็นทุกข์   ความเจ็บไข้ก็เป็นทุกข์   ความตายก็เป็นทุกข์   ความประจวบด้วยสิ่งที่ไม่เป็นที่รักก็เป็นทุกข์   ความพลัดพรากจากสิ่งเป็นที่รักก็เป็นทุกข์   ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้นก็เป็นทุกข์   โดยย่นย่อ อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์

        ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้แลเป็นทุกขสมุทัยอริยสัจ คือตัณหาอันทำให้เกิดอีก  ประกอบด้วยความกำหนัดด้วยอำนาจความเพลิน(นันทิ)  มีปกติเพลิดเพลิน(นันทิ)ในอารมณ์นั้นๆ คือ กามตัณหา  ภวตัณหา วิภวตัณหา.  

        ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้แลเป็นทุกขนิโรธอริยสัจ คือ ตัณหานั่นแลดับโดยไม่เหลือ  ด้วยมรรคคือ วิราคะ  สละ  สละคืน  ปล่อยไป  ไม่พัวพัน.

        ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้แลเป็นทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ คืออริยมรรคมีองค์ ๘นี้แหละ คือ ปัญญาเห็นชอบ ๑ …………. ตั้งจิตชอบ ๑.

        [๑๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย  ดวงตา ญาณ ปัญญา วิทยา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า นี้(คือ)ทุกขอริยสัจ.(ญาณทัสสนะที่ ๑)

        ดูกรภิกษุทั้งหลาย ดวงตา ญาณ ปัญญา วิทยา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า ทุกขอริยสัจนี้นั้นแล ควรกำหนดรู้.(ญาณทัสสนะที่ ๒)

        ดูกรภิกษุทั้งหลาย ดวงตา ญาณ ปัญญา วิทยา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า ทุกขอริยสัจนี้นั้นแล เราก็ได้กำหนดรู้แล้ว.(ญาณทัสสนะที่ ๓)

        ดูกรภิกษุทั้งหลาย ดวงตา ญาณ ปัญญา วิทยา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า นี้(คือ)ทุกขสมุทัยอริยสัจ.(ญาณทัสสนะที่ ๔)

        ดูกรภิกษุทั้งหลาย ดวงตา ญาณ ปัญญา วิทยา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า ทุกขสมุทัยอริยสัจนี้นั้นแล ควรละเสีย.(ญาณทัสสนะที่ ๕)

        ดูกรภิกษุทั้งหลาย ดวงตา ญาณ ปัญญา วิทยา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า ทุกขสมุทัยอริยสัจนี้นั้นแล เราได้ละแล้ว.(ญาณทัสสนะที่ ๖)

        ดูกรภิกษุทั้งหลาย ดวงตา ญาณ ปัญญา วิทยา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า นี้(คือ)ทุกขนิโรธอริยสัจ.(ญาณทัสสนะที่ ๗)

        ดูกรภิกษุทั้งหลาย ดวงตา ญาณ ปัญญา วิทยา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า ทุกขนิโรธอริยสัจนี้นั้นแล ควรทำให้แจ้ง.(ญาณทัสสนะที่ ๘)

        ดูกรภิกษุทั้งหลาย ดวงตา ญาณ ปัญญา วิทยา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า ทุกขนิโรธอริยสัจนี้นั้นแล เราทำให้แจ้งแล้ว.(ญาณทัสสนะที่ ๙)

        ดูกรภิกษุทั้งหลาย ดวงตา ญาณ ปัญญา วิทยา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า นี้(คือ)ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ.(มรรค) (ญาณทัสสนะที่ ๑๐)

        ดูกรภิกษุทั้งหลาย ดวงตา ญาณ ปัญญา วิทยา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ(มรรค)นี้นั้นแล ควรให้เจริญ.(ญาณทัสสนะที่ ๑๑)

        ดูกรภิกษุทั้งหลาย ดวงตา ญาณ ปัญญา วิทยา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ(มรรค)นี้นั้นแล เราให้เจริญแล้ว.(ญาณทัสสนะที่ ๑๒)    (แสดงสรุปญาณทัสสนะทั้ง ๑๒ อาการ ในบทอริยสัจ ๔)

 ญาณทัสสนะ มีรอบ ๓  มีอาการ ๑๒

        [๑๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปัญญาอันรู้เห็นตามเป็นจริงของเราในอริยสัจ ๔ นี้ มีรอบ ๓  มีอาการ ๑๒ อย่างนี้ ยังไม่หมดจดดีแล้วเพียงใด  ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรายังยืนยันไม่ได้ว่า  เป็นผู้ตรัสรู้สัมมาสัมโพธิญาณ อันยอดเยี่ยมในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณะ พราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ เพียงนั้น.

        ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อใดแล ปัญญาอันรู้เห็นตามเป็นจริงของเรา ในอริยสัจ ๔ นี้ มีรอบ ๓ มีอาการ ๑๒ อย่างนี้ หมดจดดีแล้ว  ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อนั้น เราจึงยืนยันได้ว่า เป็นผู้ตรัสรู้สัมมาสัมโพธิญาณ อันยอดเยี่ยมในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลกในหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณะ พราหมณ์ เทวดาและมนุษย์.

         อนึ่ง ปัญญาอันรู้เห็นได้เกิดขึ้นแล้วแก่เราว่า ความพ้นวิเศษของเราไม่กลับกำเริบ ชาตินี้เป็นที่สุด ภพใหม่ไม่มีต่อไป.

         ก็แลเมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสไวยากรณภาษิตนี้อยู่   ดวงตาเห็นธรรม  ปราศจากธุลี ปราศจากมลทิน ได้เกิดขึ้นแก่ท่านพระโกณฑัญญะว่า

สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา  สิ่งนั้นทั้งมวล มีความดับเป็นธรรมดา.

         [๑๗] ครั้นพระผู้มีพระภาคทรงประกาศธรรมจักรให้เป็นไปแล้ว เหล่าภุมมเทวดาได้ บันลือเสียงว่า

         นั่นพระธรรมจักรอันยอดเยี่ยม พระผู้มีพระภาคทรงประกาศให้เป็นไปแล้ว ณ ป่าอิสิปตนะมฤคทายวัน เขตพระนครพาราณสี

         อันสมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือ  ใครๆ  ในโลก จะปฏิวัติไม่ได้.

         เทวดาชั้นจาตุมหาราช ได้ยินเสียงของพวกภุมมเทวดาแล้ว ก็บันลือเสียงต่อไป.

         เทวดาชั้นดาวดึงส์ ได้ยินเสียงของพวกเทวดาชั้นจาตุมหาราชแล้ว ก็บันลือเสียงต่อไป.

         เทวดาชั้นยามา …  เทวดาชั้นดุสิต …  เทวดาชั้นนิมมานรดี …  เทวดาชั้นปรนิมมิตวสวดี …

         เทวดาที่นับเนื่องในหมู่พรหม  ได้ยินเสียงของพวกเทวดาชั้นปรนิมมิตวสวดีแล้ว ก็บันลือเสียงต่อไปว่า

         นั่นพระธรรมจักรอันยอดเยี่ยม พระผู้มีพระภาคทรงประกาศให้เป็นไปแล้ว ณ ป่าอิสิปตนะมฤคทายวัน เขตพระนครพาราณสี  

         อันสมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือใครๆในโลก จะปฏิวัติไม่ได้.

         ชั่วขณะการครู่หนึ่งนั้น เสียงกระฉ่อนขึ้นไปจนถึงพรหมโลก  ด้วยประการฉะนี้แล.  

         ทั้งหมื่นโลกธาตุนี้ได้หวั่นไหวสะเทือนสะท้าน ทั้งแสงสว่างอันยิ่งใหญ่หาประมาณมิได้ ได้ปรากฏแล้วในโลก ล่วงเทวานุภาพของเทวดาทั้งหลาย.  

         ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงเปล่งพระอุทานว่า ท่านผู้เจริญ โกณฑัญญะได้รู้แล้วหนอ  ท่านผู้เจริญ โกณฑัญญะได้รู้แล้วหนอ

[ “อญฺญาสิ วต โภ โกณฺฑญฺโญ” – โกณฑัญญะได้รู้แล้วหนอ ]

         เพราะเหตุนั้น คำว่า อัญญาโกณฑัญญะนี้ จึงได้เป็นชื่อของท่านพระโกณฑัญญะ ด้วยประการฉะนี้.

ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร จบ

 

ปัญจวัคคีย์ทูลขอบรรพชาอุปสมบท

          [๑๘] ครั้งนั้น ท่านพระอัญญาโกณฑัญญะ ได้เห็นธรรมแล้ว ได้บรรลุธรรมแล้ว ได้รู้ธรรมแจ่มแจ้งแล้ว มีธรรมอันหยั่งลงแล้ว ข้ามความสงสัยได้แล้ว ปราศจากถ้อยคำแสดงความสงสัย ถึงความเป็นผู้แกล้วกล้า ไม่ต้องเชื่อผู้อื่นในคำสอนของพระศาสดา ได้ทูลคำนี้ ต่อพระผู้มีพระภาคว่า ขอข้าพระองค์พึงได้บรรพชา พึงได้อุปสมบท ในสำนักพระผู้มีพระภาค พระพุทธเจ้าข้า.

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า เธอจงเป็นภิกษุมาเถิด ดังนี้ แล้วตรัสต่อไปว่า

ธรรมอันเรา กล่าวดีแล้ว เธอจงประพฤติพรหมจรรย์ เพื่อทำที่สุดทุกข์โดยชอบเถิด.

พระวาจานั้นแล ได้เป็นอุปสมบทของท่านผู้มีอายุนั้น. (เอหิภิกขุอุปสัมปทา)

[๑๙] ครั้นต่อมา พระผู้มีพระภาคได้ทรงประทานโอวาทสั่งสอนภิกษุทั้งหลายที่เหลือจากนั้น ด้วยธรรมีกถา.

เมื่อพระผู้มีพระภาคทรงประทานโอวาทสั่งสอนด้วยธรรมีกถาอยู่ ดวงตาเห็นธรรม ปราศจากธุลี ปราศจากมลทิน

ได้เกิดขึ้นแก่ท่านพระวัปปะและท่านพระภัททิยะว่า

สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวลมีความดับเป็นธรรมดา.

ท่านทั้งสองนั้น ได้เห็นธรรมแล้ว ได้บรรลุธรรมแล้ว ได้รู้ธรรมแจ่มแจ้งแล้ว มีธรรมอันหยั่งลงแล้ว ข้ามความ สงสัยได้แล้ว

ปราศจากถ้อยคำแสดงความสงสัย  ถึงความเป็นผู้แกล้วกล้า  ไม่ต้องเชื่อผู้อื่นในคำสอนของพระศาสดา

ได้ทูลคำนี้ต่อพระผู้มีพระภาคว่า ขอข้าพระองค์ทั้งสองพึงได้บรรพชา พึงได้อุปสมบท ในสำนักพระผู้มีพระภาค พระพุทธเจ้าข้า.

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า เธอทั้งสองจงเป็นภิกษุมาเถิด ดังนี้ แล้วได้ตรัสต่อไปว่า

ธรรมอันเรากล่าวดีแล้ว เธอทั้งสองจงประพฤติพรหมจรรย์ เพื่อทำที่สุดทุกข์โดยชอบเถิด.

พระวาจานั้นแล ได้เป็นอุปสมบทของท่านผู้มีอายุทั้งสองนั้น.

ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเสวยพระกระยาหารที่ท่านทั้งสามนำมาถวาย ได้ทรงประทานโอวาทสั่งสอนภิกษุที่เหลือจากนั้นด้วยธรรมีกถา.

ภิกษุเที่ยวบิณฑบาตนำบิณฑบาตใดมา ทั้ง ๖ รูปก็เลี้ยงชีพด้วยบิณฑบาตนั้น.

วันต่อมา เมื่อพระผู้มีพระภาคทรงประทานโอวาทสั่งสอนด้วยธรรมีกถาอยู่ ดวงตาเห็นธรรม ปราศจากธุลี ปราศจากมลทิน

ได้เกิดขึ้นแก่ท่านพระมหานามะและท่านพระอัสสชิว่า

สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวลมีความดับเป็นธรรมดา.

ท่านทั้งสองได้เห็น ธรรมแล้ว ได้บรรลุธรรมแล้ว ได้รู้ธรรมแจ่มแจ้งแล้ว มีธรรมอันหยั่งลงแล้ว ข้ามความสงสัย ได้แล้ว

ปราศจากถ้อยคำแสดงความสงสัย ถึงความเป็นผู้แกล้วกล้า ไม่ต้องเชื่อผู้อื่นในคำสอนของพระศาสดา

ได้ทูลคำนี้ต่อพระผู้มีพระภาคว่า ขอข้าพระองค์ทั้งสอง พึงได้บรรพชา พึงได้ อุปสมบทในสำนักพระผู้มีพระภาค พระพุทธเจ้าข้า.

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า เธอทั้งสองจงเป็นภิกษุมาเถิด ดังนี้ แล้วได้ตรัสต่อไปว่า

ธรรมอันเรากล่าวดีแล้ว เธอทั้งสองจงประพฤติพรหมจรรย์ เพื่อทำที่สุดทุกข์โดยชอบเถิด.

พระวาจานั้นแล ได้เป็นอุปสมบทของท่านผู้มีอายุทั้งสองนั้น.

 

ทรงแสดงอนัตตลักขณสูตร เป็นลำดับต่อไป

จนพระปัญจวัคคีย์ทั้ง ๕ สำเร็จพระอรหัตถผล

 

ร่วมใจใช้เทคโนโลยี เผยแผ่ความดี ความงาม และความจริง หรือธรรมะนั่นเอง ให้กว้างไกลไปทั่วโลก

สร้างองค์พระเจดีย์
พระครูจันทสิริธร (หลวงพ่อสารันต์ จันทูปโม ขอเชิญญาติโยมร่วมบริจาคทรัพย์ตามกำลังศรัทธาสร้างองค์พระเจดีย์เพื่อเป็นพุทธบูชา พระครูจันทสิริธร (หลวงพ่อสารันต์ จันทูปโม ขอเชิญญาติโยมร่วมพลังกันสร้างองค์พระเจดีย์ให้แล้วเสร็จกันเถอะเพราะนานปีแล้ว
วัน-เดือน-ปี
ตุลาคม 2024
อา พฤ
« ต.ค.    
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031