เรามาศึกษาธรรมะวันละคำกันเถอะ
จากหนังสือธรรมโฆษณ์-อรรถานุกรม เล่ม๑
คำว่า “กรรม” มีอรรถลักษณะ๒๑ข้อ ดังนี้
๑. ”กรรม“ โดยพยัญชนะ: หมายถึงโดยตัวหนังสือหรือคำแปลตามตัวหนังสือ…คือการกระทำ
๒. ”กรรม“ โดยอรรถ: หมายถึงโดยความหมาย…คือ กระทำโดยเจตนา: เรียกว่า กรรม; มีผลเป็นวิบาก
๓. ”กรรม“ โดยไวพจน์: หมายถึงคำที่ใช้เรียกแทนกันได้ทั้งคำบาลีและคำภาษาไทย…คือ กรณ, ปฏิบัติ, ปฏิปทา,
๔. ”กรรม“ โดยองค์ประกอบ: หมายถึงปัจจัยที่ต้องมีมากกว่าหนึ่ง.และปัจจัยนั้นๆต้องทำงานร่วมกันและพร้อมกันในเรื่องเดียวกัน…มีสาม.
คือ ๑. เจตนาในการกระทำ (กิเลส).
๒. ความพยายามกระทำ (ปโยคะ).
๓. สำเร็จตามความพยายาม.
๕. ”กรรม“ โดยลักษณะ: หมายถึงลักษณะภายนอกที่เป็นเครื่องสังเกตหรือเครื่องกำหนดที่ทำให้รู้ว่าสิ่งนั้นๆเป็นอย่างไร จึงเรียกว่าอย่างนั้น…มีลักษณะ:
คือ ๕.๑ ตามเจตนาของการกระทำนั้นๆ.
๕.๒ ไม่เที่ยง, เป็นทุกข์, เป็นอนัตตา, เหมือนสังขตธรรมทั้งปวง.
๕.๓ เป็นเครื่องจำแนกสัตว์, ควบคุมสัตว์เหมือนเงาตามตัว.
๖. ”กรรม“ โดยอาการ: หมายถึงอาการเคลื่อนไหว หรือแสดงความเคลื่อนไหวตามธรรมชาติของสิ่งนั้นๆ…คือ
๖.๑ มีอาการเกิดขึ้น, ตั้งอยู่, ดับไป, และสิ้นสุดได้ เมื่อสิ้นปัจจัยคือกิเลส. ถ้ายังมีกิเลสก็จะต้องเป็นไปตามอำนาจของกิเลส.
๖.๒ กรรมมีอาการเป็นไปตามกฎแห่งกรรม คือ ปฏิจจสมุปบาท; ทั้งในส่วนของผู้กระทำ หรือผู้รับผลแห่งการกระทำ.
๗. ”กรรม“ โดยประเภท: หมายถึงการจำแนกให้เข้ากันเป็นพวกๆ ตามลักษณะอาการของสิ่งนั้นๆ…
๗.๑ แบ่งโดยประเภทสอง:
๑.กรรมขั้นศีลธรรม: เป็นไปเพื่อการเวียนวายในวัฏฏะ.
๒. กรรมขั้นปรมัตถธรรม: เป็นไปเพื่อการสิ้นสุดแห่งวัฏฏะ.
๗.๒ แบ่งโดยประเภทสาม:
กลุ่มทีหนึ่ง: บัญญัติตามลักษณะ:
๑. กรรมที่บัญญัติได้ว่าเป็น กุศล.
๒. กรรมที่บัญญัติได้ว่าเป็น อกุศล.
๓. กรรมที่บัญญัติไม่ได้ว่าเป็น กุศล หรือ อกุศล (อัพยากฤต).
กลุ่มที่สอง: บัญญัติตามที่เกิด:
๑. กายกรรม.
๒. วจีกรรม.
๓. มโนกรรม.
กลุ่มที่สาม: บัญญัติตามการกระทำ:
๑. สนับสนุนกรรมอื่น (ให้หนักขึ้น).
๒. บีบคั้นกรรมอื่น (ให้เบาลง).
๓. ตัดขาดกรรมอื่น (ให้เลิกกันไป).
๗.๓ แบ่งโดยประเภทสี่:
๑. กรรมดำ หรือ กรรมชั่ว.
๒. กรรมขาว หรือ กรรมดี.
๓. กรรมดำขาวเจือกัน คือการกระทำที่เจือกันทั้งชั่วและดี.
๔. กรรมไม่ดำไม่ขาว คือเหนือชั่วเหนือดี เป็นที่สิ้นสุดแห่งกรรมทั้งหลาย.
๘. ”กรรม“ โดยกฎเกณฑ์: หมายถึงกฎเกณฑ์ของสิ่งนั้นๆ หรือกฎเกณฑ์เพื่อจะเข้าไปถึงสิ่งนั้นๆ ซึ่งอาจมีได้ทั้งโดยบัญญัติและโดยธรรมชาติ…
๘.๑ กรรมมีกฎเกณฑ์ซึ่งสัตว์จะต้องเคารพเชื่อฟังในฐานะเป็นพระเจ้า.
๘.๒ กรรมต้องให้ผลอย่างแน่นอน เช่น มีการเคาะที่ไหนย่อมต้องมีเสียงเกิดขึ้นที่นั้น.
๘.๓ สัตว์ต้องเป็นไปตามกรรมจนกว่าจะสิ้นกรรม คืออยู่เหนือกรรม.
๘.๔ กรรมต้องให้ผลทันทีที่มีการกระทำเสร็จ.
๘.๕ แม้กรรมเก่าที่จะให้ผลเป็นทุกข์ก็มีอยู่ แต่ถ้าประพฤติถูกต้องตามกฏอิทัปปัจจยตา กรรมนั้นก็ไม่อาจจะให้ผล. ถ้ากระทำกรรมไม่ดำไม่ขาว ก็เป็นอันยกเลิกไป ทั้งกรรมเก่าและกรรมใหม่.
๘.๖ สุข-ทุกข์ ในปัจจุบัน มิใช่เป็นผลของกรรมเก่า; แต่เกิดจากกฏอิทัปปัจจยตาที่สัตว์กระทำถูกหรือกระทำผิด; คือเป็นฝ่ายนิโรธหรือฝ่ายสมุทัย.
๘.๗ กรรมและการให้ผลของกรรมที่แท้จริงนั้น ต้องเป็นเรืองของปัจจุบันธรรม และเป็นสันทิฏฐิโก.
๘.๘ ถ้ารักษาจิตไว้ได้ ก็จะไม่มีความผิดพลาดหรือปัญหาใดๆ เกี่ยวกับกรรม.
๘.๙ กรรมให้ผลทันทีเมื่อมีการกระทำเสร็จ นี้เป็นผลของกรรมโดยตรง. ส่วนที่เป็นทางบวกหรือทางลบก็ตามนั้นไม่แน่; เพราะขึ้นอยู่กับเหตุปัจจัยอย่างอื่นอีก จึงเรียกว่าผลโดยอ้อม.
๙. ”กรรม“ โดยสัจจะ: หมายถึงความจริงเกี่ยวกับสิ่งนั้นๆ…
๙.๑ กรรมโดยหลักแห่งศีลธรรม: มีผู้กระทำกรรม; โดยหลักแห่ง ปรมัตถ ธรรม: เป็นเพียงกระแสแห่งอิทัปปัจจยตา.
๙.๒ กรรมไม่ต้องรอผลของการกระทำ ทำดีก็ดีเสร็จ ทำชั่วก็ชั่วเสร็จ ตั้งแต่เมื่อทำ. (ส่วนที่ต้องรอนั้นเป็นเพียงผลพลอยได้ ไม่ว่าจะเป็นแง่บวกหรือแง่ลบ).
๙.๓ ผลของกรรมที่จะติดตามมา ไม่จำเป็นต้องมีรูปแบบเหมือนกับตัวกรรม; บางทีอาจจะเป็นตรงกันข้ามก็ได้ เพราะมีปัจจัยอื่นเข้ามาแทรกแซงได้.
๙.๔ กรรม ผลกรรม ผู้ทำกรรม ล้วนแต่เปลี่ยนแปลงตามเหตุตามปัจจัย ทั้งโดยตรงและโดยอ้อมอยู่เสมอ; จึงจะหวังเอาตามใจไม่ได้
๙.๕ กรรมและผลของกรรม แม้ในอัตภาพนี้ก็มีมากมายจนเหลือที่จะจัดการได้อยู่แล้ว; นับประสาอะไรจะไปพูดถึงชาติหน้า.
๙.๖ กรรมที่เป็นสังขารการปรุงแต่ง มีอยู่สามชนิด: คือ อบุญ(บาป), บุญ (บุญที่ยังหวั่นไหว), อเนญชา บุญที่ไม่มีความหวั่นไหว).
๙.๗ ขึ้นชื่อว่ากรรมแล้วต้องเป็นทุกข์ทั้งนั้น แม้กรรมดีมีสุขก็ยังเป็นทุกข์อย่างดี หรือทุกข์อย่างคนมีความสุข; ต้องเหนือกรรมทั้งปวงจึงจะไม่มีทุกข์ แถงยังเหนือทุกข์อีกด้วย.
๙.๘ สิ้นกรรมไม่ได้หมายความว่าตาย; แต่หมายถึงสิ้นกิเลสที่เป็นเหตุให้ทำกรรม.
๙.๙ กรรมมีอยู่ในทุกรอบแห่งปฏิจจสมุปบาท.
๙.๑๐ กรรมในชั้นปรมัตถธรรม ไม่มีผู้กระทำกรรมหรือการกระทำกรรม; มีแต่อาการแห่งปฏิจจสมุปบาท.
๑๐. ”กรรม“ โดยหน้าที่: (โดยสมมติ) หมายถึงการที่สิ่งมีชีวิตจะต้องกระทำเกี่ยวกับสิ่งนั้นๆ.
๑๐.๑ กรรมทำหน้าจำแนกสัตว์ หรือ ปรุงแต่งสัตว์ ให้เป็นไปตาม
ลักษณะของเหตุปัจจัย.
๑๐.๒ ยกเว้นกรรมไม่ดำไม่ขาวเสียแล้ว กรรมย้อมทำสัตว์ให้เวียนว่าย
อยู่ในวัฏฏะ.
๑๐.๓ กรรมก็ตาม กิริยาก็ตาม มีหน้าที่ให้เกิดวิบากและปฏิกิริยา.
๑๑. ”กรรม“ โดยอุปมา:หมายถึงการเปรียบเทียบกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่มนุษย์เข้าใจดีอยู่แล้วเพื่อให้เข้าในสิ่งนั้นๆ ดียิ่งขึ้นจนถึงที่สุด…
๑๑.๑ ลิ่มสลัก (สกรูนอต) ที่ตรึงสัตว์ให้ติดอยู่ในวัฏฏะ.
๑๑.๒ ยมบาล ผู้จัดการทุกอย่างอย่างถูกต้อง ทั้งแก่คนทำดีและ
คนทำชั่ว.
๑๑.๓ กรรมหรือกฎแห่งกรรม มีอุปมาเหมือนพระเป็นเจ้า: ให้รางวัลแก่คนทำถูก และลงโทษคนทำผิดอย่างไม่รับสินบน.
๑๒. ”กรรม“ โดยสมุทัย: หมายถึงสิ่งที่ทำให้เกิดสิ่งนั้นๆ…
๑๒.๑ สมุทัยแห่งกรรมมีสามระยะ:
๑. เวทนา (ความรู้สึก สุข-ทุกข์).
๒. ตัณหา (กิเลส).
๓. อุปาทาน (ความยึดมั่น).
แล้วแต่จะก่อขึ้นในระยะใดระยะหนึ่งในสามระยะนี้.
ทั้งสามระยะนี้มีอวิชชาเป็นตัวการอยู่เบื้องหลัง.
๑๒.๒ ถ้ากล่าวอย่างสรุปสั้นที่สุด ความต้องการเป็นเหตุให้ทำกรรม
ตามชนิดของความต้องการ.
๑๓. ”กรรม“ โดยอัตถังคมะ: หมายถึงความดับของสิ่งนั้นๆ. คือความตั้งอยู่ไม่ได้ชั่วคราว หรือตลอดไปของสิ่งนั้นๆ…
๑๓.๑ ความดับไปตามคราวเพราะขาดเหตุปัจจัยตามธรรมของ
สังขารธรรมหรือสังขตธรรมทั้งหลาย.
๑๓.๒ เมื่อสิ้นความต้องการหรือตัณหา.
๑๔.”กรรม“ โดยอัสสาทะ: หมายถึงเสน่ห์หรือรสอร่อยที่ยั่วยวนของสิ่งนั้นๆ ซึ่งมีต่อมนุษย์…
๑๔.๑ คนยอมทำกรรมตามความพอใจของตนๆ จึงเป็นอัสสาทะแก่
ผู้กระทำทั้งกรรมดีและกรรมชั่ว.
๑๔.๒ กรรมชั่วเป็นอัสสาทะของคนชั่ว; กรรมดีเป็อัสสาทะของคนดี.
(รวมไปถึงผลของกรรมด้วย).
๑๕.”กรรม“ โดยอาทีนวะ: หมายถึงโทษหรือความเลวร้ายของสิ่งนั้นๆ ซึ่งซ่อนอยู่อย่างเห็นได้ยาก…
คือ การทำให้ต้องเวียนว่ายไปตามกรรม ยกเว้นกรรมไม่ดำไม่ขาว
ซึ่งไม่มีอาทีนวะ.
๑๖.”กรรม“ โดยนิสสรณะ: หมายถึงอุบายหรือวิธีที่จะออกหรือพ้นจากอำนาจของสิ่งนั้นๆ…
๑๖.๑ การดำเนินชีวิตตามอริยมรรคมีองค์แปด.
๑๖.๒ กรรมไม่ดำไม่ขาวหรือกรรมที่สี่ เป็นนิสสรณะของกรรมทั้งสาม
ข้างต้น.
๑๖.๓ ปฏิจจสมุปบาทฝ่ายนิโรธวาร เป็นนิสสรณะของกรรม ทั้งชนิด
ชั่วคราวและเด็ดขาด.
๑๗.”กรรม“ โดยทางปฏิบัติ: หมายถึงทางปฏิบัติต่อสิ่งนั้นๆเพื่อให้เกิดผลดีตามที่ประสงค์..
๑๗.๑ เพื่อเข้าสู่กรรมดี: คือ กุศลกรรมบถสิบ.
๑๗.๒ เพื่อสิ้นกรรม: คือ การปฏิบัติเพื่อทำลายความยึดมั่นถือมั่นว่า
ตัวตน; ว่าดี-ว่าชั่ว, ว่าสุข-ว่าทุกข์ ฯลฯ; เมื่อหมดตัวตนก็หมดกรรม.
๑๘.”กรรม“ โดยอานิสงส์: หมายถึงประโยชน์ที่จะพึงได้รับจากการปฏิบัติที่ถูกต้องต่อสิ่งนั้นๆ…
๑๘.๑ กรรมดำ: นำไปสู่ทุคติ.
๑๘.๒ กรรมขาว: นำไปสู่สุคติ.
๑๘.๓ กรรมดำขาวเจือกัน: นำไปสู่ทั้งทุคติและสุคติ.
๑๘.๔ กรรมไม่ดำไม่ขาว: นำไปสู่นิพพานหรือความสิ้นกรรม.
๑๙.”กรรม“ โดยหนทางถลำ: หมายถึงการมีโอกาสหรือความบังเอิญที่ทำให้เกิดความง่ายแก่การปฏิบัติหรือการทำหน้าทีให้สำเร็จได้โดยง่ายยิ่งขึ้น; แต่ในบางกรณีความบังเอิญนี้มีได้แม้ในฝ่ายลบหรือไม่พึงประสงค์…
๑๙.๑ สู่กรรมดำ: คบคนพาล
๒๐.”——–“ โดยสิ่งที่ต้องเกี่ยวข้อง: หมายถึงปัจจัยหรืออุปกรณ์พิเศษอื่นๆที่จะช่วยให้การกระทำเกี่ยวกับสิ่งนั้นๆ เกิดความสำเร็จได้โดยง่ายและโดยเร็วจนถึงที่สุด…
๒๑.”——–“ โดยภาษาคน-ภาษาธรรม: หมายถึงการพูดจาที่จะกล่าวถึงสิ่งๆนั้นมีทางพูดได้เป็นสองภาษา คือ ภาษาคน และ ภาษาธรรม…
โดยภาษาคน:หมายภาษาคนธรรมดาที่ใช้พูด ซึ่งมักระบุไปยังบุคคลหรือวัตถุภายนอก ที่เรียกว่าบุคคลาธิษฐาน…
โดยภาษาธรรม:หมายถึงภาษาที่ผู้รู้ธรรมพูด ซึ่งมักระบุไปยังคุณค่าหรือคุณสมบัติโดยไม่เล็งถึงบุคคลหรือวัตถุ ที่เรียกกันว่า ธรรมาธิษฐาน…
ศุกร์หน้าพบกับคำว่า “กาม” เป็นธรรมะในคำต่อไป
** *** ** ***